ฟ้อนสู่ขวัญข้าวคูณลาน : พัฒนาการจากบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว

Main Article Content

ทัศนีย์ ศิวบวรวัฒนา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับ 1. ประวัติความเป็นมา รูปแบบ ประเพณี บุญคูณลานปราสาทรวงข้าวของจังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นเมืองชุดฟ้อนสู่ขวัญข้าว คูณลาน โดยประเพณีบุญคูณลานปราสาทรวงข้าวของจังหวัดกาฬสินธุ์ จัดขึ้นที่วัดเศวตวันวนาราม ตำบลเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับความศรัทธาต่อพระแม่โพสพ ซึ่งชาวบ้านได้นำรวงข้าวมาสร้างเป็นปราสาทซึ่งมีพัฒนาการรูปแบบของปราสาท 3 รูปแบบ คือ (1) ปราสาทรวงข้าวแบบทรงพระธาตุ (2) ปราสาทรวงข้าวแบบทรงระฆังคว่ำ และ (3) ปราสาทรวงข้าวแบบทรงจตุรมุข ในปัจจุบันใช้รูปแบบปราสาทรวงข้าวทรงจตุรมุข ใช้รวงข้าวกว่า 1 ล้านรวง ความสูงประมาณ 20 เมตร และนำมาสู่การสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นเมืองชุด ฟ้อนสู่ขวัญข้าวคูณลาน โดยมีกระบวนการสร้างสรรค์ ดังนี้ 1) ศึกษาหลักแนวคิดทฤษฎีนาฏยประดิษฐ์ ทฤษฎีการสร้างสรรค์งาน ทฤษฎีการออกแบบเครื่องแต่งกายและแนวคิดสำหรับการสร้างสรรค์ทำนองเพลง 2) ออกแบบทำนองดนตรี ท่าฟ้อน และเครื่องแต่งกาย 3) วิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และ 4) เผยแพร่ต่อสาธารณชน การฟ้อนชุดนี้ใช้วงดนตรีพื้นบ้านอีสาน (วงโปงลาง) แบ่งการแสดงออกเป็น 3 ช่วง โดยช่วงที่ 1 การแสดงที่สื่อให้เห็น การร้อยเรียงจากความเชื่อเรื่องการขอฟ้าขอฝนกับพญาแถน หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ช่วงที่ 2 การแสดงที่สื่อให้เห็นถึงการทำนา ในวิถีชีวิตของชาวอีสาน และช่วงที่ 3 การแสดงให้เห็นถึงการนำเอารวงข้าวมาบูชาและประดับตกแต่งให้เป็นปราสาทรวงข้าวที่สวยงาม มีการแปรแถวทั้งหมด 14 แถว โดยมีการแต่งกายเป็นแบบหญิงสาวชาวอีสานสวมเสื้อแขนยาว ห่มสไบ นุ่งผ้าถุงยาว สวมเครื่องประดับเงิน มีท่ารำหลัก 29 ท่า ใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิงจำนวน 12 คนหรือตามความเหมาะสม และสามารถนำไปจัดแสดงในงานประเพณีบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว หรือในงานต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Buapim, S. (1995). KānSadǣngPhư̄nbān [Thai heritage]. Bangkok: O.S. Printing House.

Kamsanok, P. Kalasin, (2022, June 21). Interview.

Klamcharoen, A. (1988). Suntharīya Nāttasin [Aesthetics of Dramatic Arts]. Bangkok: O.A Printing House.

Iamsakul, C. (2014). SinlapaKānʻō̜kbǣpThāRam [The art of dancing design]. Bangkok: Publishing House O Coppe Center.

Moonsri, P. (2018, February 21). Khon performance [Photograph].

Phuangsamlee, P. (1971). Lak Nāttasin [ Master of Dramatic Arts]. Phra Nakhon: Thai Mit Karn Printing Press.

Ruangsrisai, N. (2002). Kānʻō̜kbǣp Sing Thō̜ [Textile Design]. Bangkok: Department of Industrial Promotion.

Samranwong P. Kalasin. (2022, June 20). Interview.

Sonutha P. Kalasin. (2022, July 21). Interview.

Srisawang, N. (2007). Rāingān Kānchai Khūmư̄ Pradit Sœ̄ng Yāngphārā Prakō̜pKān rīankānsō̜n Klumsāra Kānrīanrū SinlapaSāraNāttasin ChanMatthayommasưksā PīThīSām Chut Sœ̄ng yāngphārā [Report on the use of a manual for the invention of rubber nursery for teaching and learning the subject group for learning the arts of dramatic arts Grade 3, Sœng yangphara]. Office Loei Education Area 1.

Sutipan, A. (1989). Manut Kap Čhintanākān [Human with imagination]. Bangkok: Sangsilpa.

Thammawat, J. (1983). Fō̜n ʻĪsān. [Faun Isan]. Bangkok: Arun.

Wangruamklang, K., KaewBuddha, A.,…, and Niphakorn, S. (2000). Fō̜n Klō̜ng Tum Mō̜radok Thāng Watthanatham Phư̄n Bān ʻĪsān. [Drum tambourine heritage wayIsan folk culture] [Thesis]. Bunditpatanasilpa Institute.

Wirunrak, S. (2004). Lak Kān Sadǣng Nāttayasin Parithat [Principle of Performing arts]. Bangkok: Chulalongkorn.

Wongprasert, C. (1989). Sinlapa Kān Fō̜n Phāk ʻĪsān [The Art of Dancing In The North-eastern Region]. Mahasarakham: Srinakharinwirot University.