การสร้างสรรค์วิดีโอเพอร์ฟอร์มานซ์จากวรรณกรรมไทยยุคหลังสมัยใหม่เรื่อง Lover

Main Article Content

ธนัชพร กิตติก้อง
ณัฐวุฒิ ชำนาญวงศ์
ธนบูรณ์ เกียรตินิรันดร์

บทคัดย่อ

วิดีโอเพอร์ฟอร์มานซ์ เรื่อง Lover เป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสร้างสรรค์ของโครงการวิจัยด้านศิลปกรรมศาสตร์ เรื่อง “การสร้างสรรค์การแสดงจากวรรณกรรมไทยยุคหลังสมัยใหม่ “ชู้” โดย วินทร์ เลียววาริณ ในรูปแบบวิดีโอเพอร์ฟอร์มานซ์ (Video Performance)” มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาวิธีการสร้างสรรค์การแสดงจากวรรณกรรมคตินิยมหลังสมัยใหม่ในรูปแบบวิดีโอ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางการแสดงในรูปแบบปฏิบัติการ (Practice as Research) มี วรรณกรรมเรื่องชู้ คตินิยมหลังสมัยใหม่และเพอร์ฟอร์มานซ์ (performance) เป็นกรอบแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน กระบวนการสร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์และตีความตัวละคร 2) การกำหนดแนวทางของการแสดงและภาพ 3) การเลือกภาพและการถ่ายทำ 4) การตัดต่อและการเรียบเรียงภาพ 5) การใช้คำร่วมกับภาพ 6) การสร้างสรรค์เพลงประกอบ และ 7) การจัดแสดงผลงานสู่สาธารณชน  ผลการดำเนินงานวิจัยพบว่า กรอบแนวคิดในการสร้างสรรค์ส่งผลให้ กระบวนการสร้างสรรค์วิดีโอเพอร์ฟอร์มานซ์ เน้นไปที่การนำเสนอภาพการแสดง ได้แก่ 1. ภาพสภาวะความรู้สึกผ่านการแสดงของนักแสดง 2. ภาพกิจกรรมหรือการเคลื่อนไหวของนักแสดง 3. ภาพการแสดงโดยวัตถุ และ 4. ภาพนักแสดงทำงานร่วมกับวัตถุ (สัญญะ) ที่ได้จากการตีความจากวรรณกรรม โดยนำเสนอภาพเหล่านี้ด้วยมุมมองและเทคนิคที่หลากหลายในการถ่ายทำและตัดต่อ เพื่อกระตุ้นการรับรู้และความรู้สึกของผู้ชม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Areerungruang, S. (2012). Widī ō āt chut mān phačhon [Video art: the defeat of mara] [Doctoral dissertation], Chulalongkorn University.

Boonhok, S. (2020). Dek Khư̄ Phā Khāo: Khwāmsamphan Rawāng Tūalakhō̜n Dek Kap Sangkhom Thī Nam Sanœ̄ Phān Rư̄angsan Rāngwan Sīrai [Child is a White Cloth (?): Relationships between Children Characters and Social Issues Represented in S.E.A. Write’s Short Stories]. VANNAVIDAS, 20(2), 173 - 201.

Chunlawong, S. (2013). Wong Wannakam Thai Nai Krasǣ Lang Samai Mai (Tō̜n Thī 1) [Thai Literature in Postmodern Trend]. Journal of Social Sciences and Humanities Research in Asia, 19(4), 3 - 35.

Jitthos, P. (2018). Phāpphayon Thatsanasin Læ Widī Ō Āt Khō̜ng Čhakkrawān Ninthamrong [Visual Art Film and Video Art by Jakrawal Nilthamlong] [thesis], Silpakorn University.

Kittikong, T. (2020). Kān sadǣng / PERFORMANCE: khwāmrū bư̄angton kīeokap phœ̄ fō̜mā [PERFORMANCE: Basic Understanding of Performance] [thesis], Khon kaen University.

Lehman, H. T. (2006). Postdramatic Theatre [Introduction In Postdramatic Theatre]. London, Routledge.

Na nakorn, P. (2019). Sinlapasaikhīdēlik [Psychedelic Art] [thesis], Silpakom University.

Somkong, T. (2020). Pioneer in Video Art. The Great Fine Art. http://www.fineart-magazine.com/pioneer-in-video-art.

Supanwanit, A. (2008). Rak Thuk Suk Sok Nai Wannakhadī Thai: Sathō̜n Sangkhom Čhāk ʻadīt Sū Patčhuban [Love, Suffering, Suffering in Thai Literature: Reflecting on Society from the Past to the Present]. Bangkok: SangSan Book.

The Reader. (2022, March 27). Win Lyovarin. Bangkok: Prapansarn Publishing. http://www.praphansarn.com/home/detail_author_th/39.