ภาพพิมพ์แกะไม้เชิงทดลองกับผลงานชุด ดุลยภาพ : ร่างกายกับลมหายใจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาภาพพิมพ์แกะไม้เชิงทดลองกับการสร้างสรรค์ผลงานชุด ดุลยภาพ : ร่างกายกับลมหายใจ เป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการผสานความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการทางแนวความคิดที่เกี่ยวกับปรัชญาพระพุทธศาสนาเรื่อง “รูป - นาม” กับกระบวนการทางเทคนิคภาพพิมพ์แกะไม้เชิงทดลอง โดยทดลองใช้วัสดุกระดาษสาที่ผลิตจากแหล่งผลิตในชุมชนล้านนาผสมผสานกับเทคนิคการพิมพ์แกะไม้สีน้ำแบบญี่ปุ่นประยุกต์
วัตถุประสงค์หลักในการศึกษาประกอบไปด้วย 1) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้านทัศนศิลป์ที่สะท้อนแนวความคิด เกี่ยวกับ “รูป – นาม”ตามหลักปรัชญาพระพุทธศาสนาผ่านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้สีน้ำเชิงทดลอง ด้วยความประณีต และมีสุนทรียภาพทางทัศนศิลป์ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการประยุกต์ใช้กระดาษสาที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่นล้านนาไทยกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้สีน้ำ และ 3) เพื่อลดต้นทุนและเวลาในการผลิตผลงานสร้างสรรค์ศิลปะเทคนิคภาพพิมพ์แกะไม้สีน้ำและเพื่อยกระดับผลงานสร้างสรรค์ให้เทียบเท่ากับงานวิจัย
จากผลจากการศึกษา พบว่าเทคนิคกระบวนการพิมพ์ภาพพิมพ์แกะไม้สีน้ำเชิงทดลองมีคุณสมบัติพิเศษ เนื่องจากกระบวนการดูดซับสีน้ำของกระดาษสามีลักษณะทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า “ออสโมซิส” สามารถเป็นสื่อสะท้อนภาพแนวความคิดในเชิงอุปมาอุปไมยถึงลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างการหายใจ “เข้า – ออก” และสัมพันธภาพของร่างกายกับลมหายใจ เฉกเช่นเดียวกับการที่กระดาษสาดูดซับสีน้ำ ดังสมการ
กระดาษ และ กระดาษสา = กาย / รูป
น้ำ และ สีน้ำ = ลมหายใจ / นาม
นอกจากนี้ยังพบว่ากระดาษเยื่อสาผสมเยื่อไผ่ที่ผลิตในล้านนาสามารถนำมาสร้างสรรค์งานภาพพิมพ์สีน้ำเชิงทดลองได้เป็นอย่างดี โดยกระดาษเยื่อสา 100 เปอร์เซ็นต์ จะมีความยืดหยุ่นสูงไม่ฉีกขาดง่าย เมื่อพิมพ์ด้วยกระบวนการพิมพ์สีน้ำจะปรากฏร่องรอยของสีเป็นจ้ำ ๆ ความเรียบของสีไม่สม่ำเสมอ กระดาษเยื่อสาผสมเยื่อไผ่ 50 เปอร์เซ็นต์ ความยืดหยุ่นจะมีน้อยกว่ากระดาษเยื่อสาแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ มีสีครีมสวย เมื่อนำมาพิมพ์ด้วยเทคนิคภาพพิมพ์สีน้ำ สีที่ปรากฏในงานจะมีความเรียบเนียนกว่าการใช้กระดาษเยื่อสาแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ และกระดาษเยื่อสาผสมเยื่อไผ่ 25 เปอร์เซ็นต์ จะมีความยืดหยุ่นสูง มีสีครีม สามารถนำมาสร้างสรรค์งานเทคนิคภาพพิมพ์สีน้ำได้ดี อย่างไรก็ตาม กระดาษเยื่อสาแต่ละประเภทจะสามารถสะท้อนผลงานออกมาได้ดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสอดคล้องกับเนื้อหาทางแนวความคิด ซึ่งผลงานชุด “ดุลยภาพ : ร่างกายกับลมหายใจ” เป็นผลงานที่มีแนวคิดอยู่บนพื้นฐานหลักปรัชญาพระพุทธศาสนาในเรื่อง “รูป - นาม” หรือความไม่ “จีรัง” ความไม่แน่นอนที่ปรากฏในการพิมพ์ในแต่ละครั้ง วัสดุกระดาษสาในล้านนาและกระบวนการทางเทคนิค (ภาพพิมพ์สีน้ำเชิงทดลอง) จึงมีความสอดคล้องกับกับกระบวนการทางแนวความคิด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Almaany. (20204, November 1). Translation and Meaning of قرطاس in Almaany English Arabic Dictionary. https://www.almaany.com/en/dict/ar-en/%D9%82%D8%B1%D8%B7%D8%A7%D8%B3.
Enjoy – Kyoto. (2020, December 1). Kawao: shodo artist. [Photograph]. http://enjoy-kyoto.net.
MA Mutual Art. (1998, August 22). Tetsuya Noda. [Prints]. https://www. mutualart.com/Artist/Tetsuya-Noda.
Nangkala, A. (2020, December 1). Ukiyō e rǣng bandān čhai čhāk Yīpun sū phonngā naphā phō̜ phim rūamsamai bǣp Thai thai. [The inspiration from Japan to the contemporary Thai printmaking.]. Fine Arts PSU News Journal, 28. http://finearts.pn.psu.ac.th/article/2558/a.anchana.pdf.
Sneider, E. (2020). Days in the Life of Tetsuya Noda. The New York review, https://www.nybooks.com/daily/2020/07/04/days-in-the-life-of-tetsuya-noda.
Suzuki, S. & Dixon, T. (Eds). (2011). Zen Mind, Beginner’s Mind: Informal Talk on Zen Meditation and Practice. Shambhala Publications.
Terebess. (2020, December 1). Liang-kaj csan festmenyei Zen Painting. [Prints]. https://terebess.hu/zen/liangkaj.html.
The Met. (2020, December 4). Kabuki Actor Otani Oniji III. [Prints]. https://www.metmuseum.org/art/collection/search/37358.