การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมสินค้า OTOP กลุ่มจักสานกระดาษบ้านโนนสำนัก จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาสำคัญสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน คือ วัสดุในกระบวนการผลิตและรูปแบบผลิตภัณฑ์ถูกนำมาผลิตซ้ำเลียนแบบอย่างดาษดื่นในหลาย ๆ กิจการ สินค้าจึงขาดเอกลักษณ์ ไม่สอดคล้องกับกระแสความนิยมของผู้บริโภค ส่งผลต่อการชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจระดับฐานราก กลุ่มจักสานกระดาษบ้านโนนสำนักเป็นอีกกิจการหนึ่งที่สินค้ายังขาดเอกลักษณ์ที่จะสร้างความโดดเด่นดึงดูดความสนใจ งานวิจัยนี้จึงเป็นการดำเนินการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์ ด้วยการศึกษาทดลองผลิตกระดาษจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีในสภาพแวดล้อมชุมชน รวมถึงออกแบบและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด วิธีวิทยาที่ใช้เป็นการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นการศึกษาและพัฒนาภายใต้แนวคิด การออกแบบรูปทรงตามวัสดุ พฤติกรรมผู้บริโภค และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมสถานประกอบการ ผลจากการวิจัยพบว่าวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีในสภาพแวดล้อมชุมชนคือ ลำต้นข้าวโพดและกาบกล้วยสามารถผลิตเยื่อกระดาษด้วยวิธีต้มเยื่อในโซเดียมไฮดร็อกไซด์อัตราส่วน 10 กรัม : น้ำ 1 ลิตร ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 100 - 120 องศาเซลเซียส เวลา 2 ชั่วโมง ต่อจากนั้นจึงใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงขนาดแรงดันน้ำ 120 บาร์ ฉีดอัดน้ำใส่เส้นใยที่ต้มแล้วเพื่อบดย่อยให้ได้เยื่อกระดาษที่มีความละเอียดและเป็นการล้างโซเดียมไฮดร็อกไซด์ในเวลาเดียวกัน จากนั้นขึ้นรูปแผ่นด้วยการช้อนเยื่อทำให้ได้แผ่นกระดาษและเมื่อวิเคราะห์คุณสมบัติวัสดุสรุปได้ว่าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จะใช้ประโยชน์จากสีตามธรรมชาติของวัสดุ คือ ลำต้นข้าวโพดให้กระดาษสีเหลืองอ่อนกับกาบกล้วยที่ให้กระดาษสีน้ำตาลเข้ม รวมถึงพื้นผิวของวัสดุที่เกิดจากการกระจายและเรียงตัวของเส้นใยที่มีความแตกต่างมาใช้ร่วมกันเพื่อให้เกิดความงาม จากนั้นจึงถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชน ดำเนินการออกแบบและจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบร่วมกับชุมชน จำนวน 9 รูปแบบ นำต้นแบบสู่การทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการตลาดกลุ่มเป้าหมายคือ นักท่องเที่ยวในวัยทำงานช่วงอายุ 25 – 45 จำนวน 100 คน ผลสำรวจมีค่าคะแนนความพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ 4.56 หมายถึงระดับดีมาก และพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีและให้ความสนใจค่อนข้างมาก ต่อผลิตภัณฑ์จักสานกระดาษเนื่องจากความแปลกใหม่ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติ มีเอกลักษณ์และมีความคิดสร้างสรรค์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Charungjitsunthorn, W. lakkān læ nǣokhit kānʻō̜kbǣp phalittaphan. Bangkok: APPA Printing Group Company Limited, 2005.
Farangthong, S. “phūbō̜riphōk sīkhīeo. [Green Consumer].” Energy Saving Journal 5, no. 52(2012): 74-75.
Jearakul, T. “Panhā Læ Nǣothāng Kān Prap Tūa Khō̜ng OTOP Phư̄a Phrō̜m Rap kān pœ̄t AEC. [The Problems and the Adaptation of OTOP to AEC].” The Executive Journal 34, no. 1(2014): 185.
Klankaew, P. “chana khāt dūai kān mō̜ng talāt bǣp khit tāng.” Marketing and Branding Journal 17, no. 161(2011): 92 – 95.
Mgronline. “Thō̜trahat Lap Sāng Brǣn Thai Hai Pang. [Decoding the secret to create a Thai brand].” Mgronline. Accessed May 25, 2019. https://mgronline.com/business/detail/9620000086178.
Ngoenprasoetsi, N. “Kānwičhai Chœ̄ng Patibatkān Bǣp Mī Sūan Rūam. [Participatory Action Research].” Journal of Social Sciences and Humanities, Faculty of Social Sciences Kasetsart University 27, no. 2(2001): 61- 62.
Niamsap, N. “Nǣothāng Kānʻō̜kbǣp Rūpsong Dōi ʻing Watsadu Form follows material. [Design form by Based on material guidelines “Form follows material”].” Academic Journal Faculty of Architecture Chulalongkorn University 35, (2008): 26.
Samoechai, C. Phrưttikam Phūbō̜riphōk. [Consumer behavior]. Bangkok: expernet, 2007.
Srisa – ard, B. Kānwičhai Bư̄angton. [Preliminary research]. Bangkok: suwiriyasan, 2000.
Thai Industrial Standards Institute Ministry of Industry. Māttrathān Phalittaphan Chumchon Chaksān Kradāt (mō̜ phō̜ chō̜. 222/2547). Bangkok: Ministry of Industry, 2012.