จิตรกรรมกับสังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดทำวิจัยภายใต้โครงการ “จิตรกรรมกับสังคม” นี้ข้าพเจ้ามีแรงบันดาลใจจากชุดความรู้ในภาษาทางจิตรกรรมเชิงการสื่อสารบริบททางสังคมในแง่การเมืองและพุทธปรัชญา ซึ่งทั้ง 3 ประเด็นนี้จะถูกนำมาร้อยเรียง เชื่อมโยงและสังเคราะห์เพื่อสะท้อนความจริงอันเป็นแก่นของพุทธปรัชญาโดยการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมที่มีเป้าหมายแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ของการฝักใฝ่ ไขว่คว้าหาอำนาจอันเป็นกิเลสความดำมืดในจิตใจของมนุษย์จากการเปลี่ยนแปลงทางสถานภาพหรือตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงไปสู่จุดที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศ
อนึ่งการจัดทำโครงการวิจัยนี้ ข้าพเจ้ามิได้มีความประสงค์ที่จะเสียดสี โจมตี คัดค้าน หรือเห็นด้วยกับการกระทำหรือความคิดเห็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากแต่ข้าพเจ้ามีแนวคิดที่จะนำเสนอความจริงที่เป็นความจริงตามหลักพุทธปรัชญาที่ว่า กิเลสนั้นสามารถเผาทุกสิ่งอย่างให้มอดไหม้ได้แม้แต่เนื้อแท้ของคุณงามความดี และห้วงสุดท้ายของชีวิตเราต่างไม่สามารถนำสิ่งใดติดตัวไปได้ ในทางกลับกันสิ่งที่เราสามารถสร้างและดำรงให้คงอยู่ได้คือ ประวัติศาสตร์ของการกระทำ ฉะนั้นถ้าผู้นำมีความตระหนักถึงหลักคิดตามพุทธปรัชญา (ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา) ที่ว่านี้เป็นเครื่องประคับประคองในการใช้อำนาจการบริหารบ้านเมืองแล้วนั้น บ้านเมืองก็จะเป็นไปในทิศทางที่ดี เกิดความผาสุก กลายเป็นเมืองศิวิไลซ์ตามครรลองที่ควรจะเป็น อีกทั้งเหตุการณ์ความรุนแรงและความสูญเสียก็จะไม่เกิดขึ้นดั่งที่ปรากฏตามสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้ความสนใจในเรื่องราวที่เกี่ยวกับหน้าที่ของภาษาจิตรกรรมที่ทำงานร่วมกับสังคมในแง่ของการบันทึก สะท้อน และตีแผ่เรื่องราวของสังคม (โดยเฉพาะการเมือง) ที่เป็นมา ผสานด้วยทัศนคติและการสร้างสรรค์ผ่านศาสตร์ของจิตรกรรม รูปแบบจิตรกรรมสากล 2 มิติในรูปแบบของศิลปะแนวเสมือนจริงและศิลปะแนวความคิด นำเสนอผ่านมุมมองผสมผสานกับทัศนคติส่วนตัว ความคิดสร้างสรรค์ ประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจตามหลักมานุษยวิทยา สังคมวิทยาและพุทธปรัชญา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Anacamee, S. S. Phalang Sāngsan Čhāk Rǣng Bandān Čhai. [Creative Power of an Inspiration]. Bangkok: Siammiss Publishing House, 2012.
Chantavanich, S. Thritsadī Sangkhomwitthayā. [Sociological Theory]. Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University, 2016.
Kaewthep, K. Sāt Hǣng Sư̄ Læ Watthanatham Sưksā. [Science and Media of Cultural Studies]. Bangkok: Edison Press Products, 2001.
Kunavichayanont, S. “To Thī Sipčhet Hō̜ng Rīan Prawattisāt (Thanon Rāt Damnœ̄n). [Table 17, Historical Classroom (Ratchadamnoen Road)].” Rama9Art. Accessed January 15, 2020. http://www.rama9art.org/sutee/09_history_class.html.
Nimsamer, C. Ongprakō̜p Khō̜ng Sinlapa Composition of Art. [Composition of Art]. Bangkok: Amarin, 2016.
Phra tham pidok. Phut tham. [Buddhism]. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University, 2013.
Saengkrachang, S. Sinlapa khư̄ ʻarai. [What is Art]. Bangkok: Openbook, 2008.
Sriwanichpoom, M. “Horror in Pink.” Photographers. Accessed January 15, 2020. http://www.photographers/photographer.php?id=197.
Tangchalok, I. Nǣothāng Kānsō̜n Læ Sāngsan Čhittrakam Khan Sūng. [Guidelines for Teaching and Creating Advanced Painting]. Bangkok: Amarin, 2007.