การพัฒนาออนโทโลยีโบราณวัตถุเพื่อการสืบค้นและการเข้าถึง

Main Article Content

วีระพันธ์ จันทร์หอม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้นำเสนอความสัมพันธ์เชิงความหมายประวัติศาสตร์ล้านนาผ่านการศึกษาข้อมูลสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เพื่อเพิ่มมูลค่าของข้อมูลโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์ สำหรับการสืบค้นความรู้ประวัติศาสตร์ล้านนา ออกแบบด้วยหลักการออนโทโลยีสร้างความสัมพันธ์เชิงความหมายทางประวัติศาสตร์ และพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อทดสอประสิทธิภาพการสืบค้นผลการวิจัยพบว่า 1) ออนโทโลยีที่ออกแบบสามารถใช้กับการสืบค้นเชิงความหมายของสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับความรู้ประวัติศาสตร์ล้านนาได้เป็นอย่างดี สามารถสืบค้นตรงตามความต้องการ 2) จากผลการประเมินประสิทธิภาพการสืบค้นจากผู้เชี่ยวชาญโดยรวม พบว่า อยู่ในเกณฑ์ดี ที่ค่าเฉลี่ย 4.50 ระบบที่พัฒนาขึ้นตอบสนองต่อการใช้งานของผู้เชี่ยวชาญได้เป็นอย่างดี เมื่อพิจารณาในรายการที่มีนัยสำคัญจากหัวข้อที่ได้เกณฑ์ดีมาก ที่ค่าเฉลี่ย 5 คือ “ผลการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศเป็นไปตามความต้องการ” จากการประเมินผลการสืบค้นแสดงให้เห็นว่าการสืบค้นข้อมูลตามออนโทโลยีที่ออกแบบทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการสืบค้นอยู่ในระดับดีมาก จากผลการวิจัย งานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อแหล่งจัดเก็บสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมได้มีเครื่องมือสำหรับการจัดการความรู้ เพิ่มคุณค่าของข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นความรู้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความ

References

Būrana rat, M. “Ontology Application Management”. National Electronics and Computer Technology Center. Accessed February 7, 2019. http://lst.nectec.or.th/oam/index.php.

Chanhom, W. “Phiphitthaphan Rai Kamphǣng”. [Museum without walls]. Research report, Faculty of Fine Arts, Chiang Mai University, 2015.

Čharœ̄n Phot, S. “Khwāmrū Thūapai Kīeokap Phiphitthaphan Khūmư̄ Phiphitthaphan Thō̜ngthin”. [General knowledge about the museum local museum guide]. Bangkok: Graphic format, 2007.

Čhan tha dēt, A. “Kānphatthanā ʻŌ̜n Thōlōyī Nithān Phư̄nbān ʻĪsān Phư̄a Kān Sư̄pkhon Læ Khaothưng”. [The Development of Isan Folktale Ontology for Information Access and Retrieval]. Journal of Srinakharinwirot Research and Development , 10, no. 20 (2018): 191 - 206.

Thip Sēnā, R. “Kānphatthanā Thān Khwāmrū ʻŌ̜nthōlōyī Samrap Phāchana Din Phao Lǣng Bōrānnakhadī Bān Chīang Čhangwat ʻUdō̜n Thānī”. [Development of an ontological knowledge base for pottery at Ban Chiang Archaeological Site Udon Thani Province]. TLA Research Journal, 11, no. 1 (2018): 16 - 32.

Thongchai, U. “Khrōngkān Lān Nāk Dī Sưksā”. [Lanna Study Project]. Chiang Mai University, 2014.

Kozaki, K. “Hozo - Ontology Editor”. Accessed January 27, 2019. http://www.hozo.jp.

Larue, F. “From the Digitization of Cultural Artifacts to the Web Publishing of Digital 3D Collections: an Automatic Pipeline for Knowledge Sharing”. Journal of multimedia: Issue.7, no. 2 (2012): 132 - 139.

Natalya, F. Noy and Deborah L. “McGuinness. A Guide to Creating Your First Ontology”. Stanford, CA, 94305: Stanford University, 2012

Corazzon, R. “Definitions of Ontology”. Accessed January 28, 2019. https://www.ontology.co/ontology-definitions-one.htm.