การใช้งานระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง สำหรับนักศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง และเพื่อศึกษาระดับความสำคัญและเปรียบเทียบข้อดีข้อจำกัดผลการใช้งานระบบคลาวด์คอมพิวติ้งสำหรับนักศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยตัวแปรต้นจำแนกตามปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน อายุการทำงาน และปัจจัยด้านคุณลักษณะข้อดีและข้อจำกัดของระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ส่วนตัวแปรตามการยอมรับระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง แบ่งปัจจัยศึกษา 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นรับรู้ ขั้นสนใจ ขั้นตัดสินใจ ขั้นทดลองใช้ และขั้นยอมรับ โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 200 ชุด จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนักศึกษาสถาบันสารสาสน์เทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ F-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis Variance : ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่น้อยที่สุด (Least Significant Differrent : LSD)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีผลต่อการใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง โดยข้อดีที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ มีความสามารถในการแบ่งปันข้อมูล (x̄=4.36, S.D.=0.82) มีทางเลือก ในการเข้าถึงที่หลากหลาย ระบบคลาวด์สามารถเข้าถึงจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ (x̄=4.27, S.D.=0.69) ข้อจำกัดที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ ไม่สามารถเข้าถึงระบบคลาวด์ได้เมื่อไม่มีอินเตอร์เน็ต (x̄=4.21, S.D.=0.97) ต้องมีระบบแบนด์วิธที่ดีในการรับส่งข้อมูล (x̄=4.03, S.D.=0.92)
2. ระดับความสำคัญและการเปรียบเทียบข้อดีและข้อจำกัดของการใช้งานระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ระดับการยอมรับของปัจจัยที่ส่งผลต่อข้อดีทั้ง 8 ข้อของระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งขัดแย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้แต่แรก เมื่อพิจารณาตัวแปรกลุ่ม เช่น ระดับความคิดเห็นของผู้ใช้ ซึ่งถูกใช้เป็นตัวแปรต้น ผลวิจัยระบุว่า กลุ่มผู้ใช้ที่มีระดับความคิดเห็นแตกต่างกันไม่ได้มีผลต่อการยอมรับข้อดีของระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง อย่างมีนัยสำคัญดังนั้น สมมติฐานที่ตั้งไว้จึงได้รับการยอมรับเฉพาะใน ขั้นทดลองและขั้นยอมรับ เท่านั้น และระดับ การยอมรับของปัจจัยที่ส่งผลต่อข้อจำกัด ทั้ง 8 ข้อ ของระบบคลาวด์คอมพิวติ้งไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
Downloads
Article Details
References
จุฑามาศ พีรพัชระ, สุวรรณ ประทีป ณ ถลาง, รุจิรา จุนบุญ, และธภัทร อาจศรี. (2564). การพัฒนาสื่อดิจิทัลอาหารจากกล้วยเพื่อการเรียนรูhตลอดชีวิต. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 9(1), 42-53. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/249769
นวรัตน์ ป้องจิตใส และวศิณ ชูประยูร.(2562).การยอมรับและนําคลาวด์คอมพิวติ้งไปใช้ในกระบวนการทางธุรกิจของSMEs. รังสิตสารสนเทศ,25(2), 78-114. https://rilj.rsu.ac.th/journal/50/article/207
พลเดช พิชญ์ประเสริฐ. (2562). การพัฒนาระบบงานพัสดุผ่านคลาวด์คอมพิวติ้งโรงเรียนโพธิ์ธาตุประชาสรรค์ สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 102-109. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/190134
มธุรส ผ่านเมือง, ชนนิกานต์ รอดมรณ์ และ นลินภัสร์ บําเพ็ญเพียร (2563). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการยอมรับเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 7(2), 349-368. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msj/article/view/176448
สมศักดิ์ โอฬารชัชวาล และวรทรรศน์ มาฆะศิรานนท์. (2561). การพัฒนาตัวแบบการยอมรับนวัตกรรม Cloud Application กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี. รังสิตสารสนเทศ, 24(2), 1-37. https://rilj.rsu.ac.th/journal/34
สุมาลี นามโชติ และจักรกฤษณ์ มะโหฬาร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งของบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(5), 65-77. https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3048
Bisong, A. & Rahman, M. (2011). An Overview of the Security Concerns in Enterprise Cloud Computing. International Journal of Network Security & Its Applications (IJNSA), 3(1), 30-45.
Borhman, H. P., Bahli, B., Heier, H. & Schewski, F.(2013). Cloudrise: Exploring Cloud Computing Adoption and Governance with the TOEFramework. Proceedings of 46th Hawaii International Conference on System Sciences (HICSS), 4425-4435.
Davis, F. D. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of use, and user Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13(3), 319–340.
Koona S. K. (2021). History and Evaluation of Cloud Computing. https://www.c-sharpcorner.com/article/history-and-evaluation-of-cloud-computing/
Neto, M. D. (2014). A brief history of cloud computing. Cloud Computing Simplified : The Thoughts on Cloud Way. https://www.redbooks.ibm.com/redpapers/pdfs/redp5179.pdf
Uakarn, C., Chaokromthong, K., & Sintao, N. (2021). Sample size estimation using Yamane and Cochran and Krejcie and Morgan and green formulas and Cohen statistical power analysis by G* Power and comparisions. APHEIT International Journal of Interdisciplinary Social Sciences and Technology, 10(2), 76-86. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ATI/article/view/254253