การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้สื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสามารถด้านการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ หลังจากได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้สื่อดิจิทัล (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนหลังจากผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้สื่อดิจิทัล (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้สื่อดิจิทัล ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านยางกะเดา อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 14 คนได้มาโดยเลือกแบบสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 แผน สื่อดิจิทัลประเภทคลิปวิดีโอ 14 คลิป แบบวัดความสามารถด้านการสื่อสารและสื่อความหมายเป็นอัตนัย จำนวน 4 ฉบับ ฉบับละ 1 ข้อ โดยมีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.65 - 0.72 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.37 - 0.56 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.69 แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เป็นปรนัย 4 ตัวเลือก 1 ฉบับ จำนวน 20 ข้อ ค่าความยากง่าย ตั้งแต่ 0.48-0.70 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.48 - 0.70 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 15 ข้อ ผลการประเมินแบบวัดความพึงพอใจ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80–1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Wilcoxon
ผลการวิจัย พบว่า
1) ความสามารถด้านการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ หลังจากได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้สื่อดิจิทัล อยู่ในระดับ ดีมาก มีคะแนนเฉลี่ย 3.50
2) คะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3) ความพึงพอใจของนักเรียน อยู่ในระดับ พึงพอใจมาก มีคะแนนเฉลี่ย 4.48 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.65
Downloads
Article Details
References
กมลชนก มิ่งเมืองมูล. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
กานต์ชนก ผลจันทร์. (2561). การศึกษาความสามารถในการสื่อสารและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
จริยา สุนทรหาญ. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการแบบเปิดที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7428
จีรนันท์ แก้วปินตา. (2562). การส่งเสริมทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:143428
ชุติมณฑ์ โสชัยยันต์. (2565). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อดิจิทัลเรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1720
ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช. (2560). สื่อดิจิทัลใหม่..สื่อแห่งอนาคต. สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธนวรรณ นัยเนตร. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับคำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6888
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีแถะการพัฒนารูปแบบการจัดการรียนรู้. เอส.พริ้นดิ้งไทยแฟคตอรี่.
ผกามาศ เรืองจรัส. (2565). การพัฒนาชุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกที่มีผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
พิมพ์สุภา วุ่นเหลี่ยม. (2563). ความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยวิธีการแบบเปิด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย มหาสารคาม]. http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1167
ไพศาล วรคำ. (2564). การวิจัยทางการศึกษา(Educational Research). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์และคณะ. (2546). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนโดยเน้นกระบวนการทางคณิตศาสตร์. ขอนแก่นการพิมพ์.
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2554). เอกสารคำสอน วิชา 410541 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศศิญามล เจริญผล. (2563). ผลการใช้สื่อดิจิทัลประกอบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในรายวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. ส.เจริญการพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อัมพร ม้าคนอง. (2554). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การพัฒนาเพื่อการพัฒนา. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.