การพัฒนาระบบเบิกจ่ายสารเคมี สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Main Article Content

บังอร ละเอียดออง
ธันยรัศมิ์ ผุริจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบเบิกจ่ายสารเคมี สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2) เพื่อประเมินคุณภาพระบบเบิกจ่ายสารเคมีและ3) เพื่อประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบเบิกจ่ายสารเคมี กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และนักศึกษาปริญญาตรีที่ใช้บริการเบิกจ่ายสารเคมีโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบการเบิกจ่ายสารเคมี แบบประเมินคุณภาพการใช้งานระบบ และแบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบเบิกจ่ายสารเคมี การพัฒนาระบบใช้กระบวนการพัฒนาแบบ System Development Life Cycle (SDLC) โดยใช้ภาษา PHP และ เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล MySQL


ผลการวิจัยพบว่า


1.ผลการพัฒนาระบบเบิกจ่ายสารเคมีได้ระบบการเบิกจ่ายสารเคมีที่พัฒนาอย่างมีคุณภาพ


2.ผลการประเมินคุณภาพของระบบเบิกจ่ายสารเคมี โดยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.79 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.31


3.ผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบเบิกจ่ายสารเคมี พบว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.62 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

จรรยา ชื่นอารมณ์. (2565). การพัฒนาสารบบสารเคมีในห้องปฏิบัติการทันตวัสดุ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 9(1), 29-42,https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/251594

ชัชญาภา เกตุวงศ์. (2561). ระบบเบิกจ่ายสารเคมีและเครื่องแก้วของโครงงานวิจัยนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. http://research.rmu.ac.th/rdi-mis//upload/fullreport/1632628937.pdf

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2540). การบริหารการศึกษา. พิมพ์ดี.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2550). แนวคิดแนวทางการพัฒนาชุมชน. กรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย.

นำชัย ผันผยอง, ชุติมณฑน์ แพงคำฮัก, เสาวนีย์ เรือนน้อย, ธีรพัฒน์ พงศ์จิตธรรม, ภริดา ทองปัน และสงกรานต์ จรรลานิมิต. (2564). ระบบยืม-คืนอุปกรณ์สาธิต. ใน สำราญ บุญเจริญ (บ.ก.), สู่ชีวิตวิถีใหม่ ด้วยงานวิจัยทาง สุขภาพและการบริการ. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 8. (769-779) วิทยาลัย นครราชสีมา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. สุวีริยาสาส์น.

ประภาส ภูเวียง, สุภฏารัตน์ สุธีพรวิโรจน์, วรรณา กาบศรี และนรากร คาฟู. (2562). พัฒนาระบบเบิก–จ่าย อย่างไรให้ได้ผล. ใน คณะเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักวิชาเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (บ.ก.), งานดี มีสุข ในยุค 4.0. การประชุมวิชาการศูนย์ประสานงานเครือข่ายบุคลากรสายสนับสนุนคณะเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศคภท.) ประจำปี 2562. (177-184) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ภัทรมาศ เทียมเงิน. (2562). การจัดการสารเคมีและของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงงานวิจัย สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. https://research.rmutsb.ac.th/fullpaper/2562/research.rmutsb-2562-20191206101236580.pdf

วริญดา ประทุมวัลย์. (2566). การพัฒนาระบบการจัดการสารเคมีของห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิชาการ ปขมท, 12(1), 185–195. https://www.council-uast.com/journal/journal-detail.php?id=38

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22(140), 5-55.