การพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

Main Article Content

ภูเบศ เลื่อมใส
พิมพ์สุพร สุนทรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการรู้ดิจิทัลในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก2)เพื่อพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการรู้ดิจิทัล3)เพื่อประเมินและรับรองหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการรู้ดิจิทัล และ 4)เพื่อใช้หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการรู้ดิจิทัล มีวิธีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มกำลังแรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ประกอบการ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็น และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนาหลักสูตร แหล่งข้อมูล คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมร่างหลักสูตร แบบบันทึกผลการสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 การใช้หลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง คือ กำลังแรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ หลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการรู้ดิจิทัล และแบบประเมินความพึงพอใจ ค่าสถิติพื้นฐานที่ใช้ ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที (t-test แบบ Dependent) การทดสอบประสิทธิภาพ E1/ E2 
ผลการวิจัยพบว่า
1. ค่าเฉลี่ยความต้องการจำเป็นทักษะปัจจุบันต่ำกว่าทักษะที่ต้องการพัฒนาทุกรายการและมีดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็น (PNIModified) อยู่ระหว่างร้อยละ 14.8 ถึง ร้อยละ 47
 
2. หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการรู้ดิจิทัล (Digital literacy) มีองค์ประกอบ คือ (1) ชื่อหลักสูตร (2) ปัญหาและความต้องการ (3) หลักการ (4) เป้าหมาย (5) วัตถุประสงค์ (6) เนื้อหาสาระ (7) กระบวนการ   (8) กิจกรรม (9) สื่อและแหล่งเรียนรู้ (10) การวัดและประเมินผล
 
3. ผลการทดสอบประสิทธิภาพ E1/E2=81.56/84.41 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
 
4.การประเมินและรับรองหลักสูตรหลังจากทดลองใช้แล้ว โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.34, S.D.=.42)
 
5. หลังการใช้หลักสูตร (1) คะแนนการรู้ดิจิทัล (Digital literacy) ทุกหน่วยการเรียน หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  (2) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.93), (S.D.=.73)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559-2561). กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2563). พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562. กรมโรงงานอุตสาหกรรม.

จำเนียร จวงตระกูล. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์:ทฤษฎีและการปฏิบัติ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7-20. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/28419

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2661). แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560-2565). https://www.eeco.or.th/th/filedownload/1478/cf4092afd2456bb1f03995574db27a75.pdf

Davenport, T. H.,& Kirby, J. (2015). Strategy for remaining gainfully employed in an era of very smart machines. https://hbr.org/2015/06/beyond-automation