นิทรรศการบนโลกเสมือนจริงโดยใช้เว็บไซต์ Spatial เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

Main Article Content

พรรณทิพา จันทร์เพ็ง
อนีต้า ภูษาอนันตกุล
ภาณิชาพัชย์ ชินภาสนันท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการบนโลกเสมือนจริง เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2) เพื่อพัฒนานิทรรศการบนโลกเสมือนจริงโดยใช้เว็บไซต์ Spatial ส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อห้องนิทรรศการบนโลกเสมือนจริงโดยใช้เว็บไซต์ Spatial ส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ซึ่งขั้นตอนในการดำเนินงาน แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาชุดผลงานวิชาการให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ โดยใช้เทคนิคในการปรับแต่งในโปรแกรม Canva ที่จะนำไปใช้ในการดำเนินงานระยะต่อไป ระยะที่ 2 การพัฒนาห้องนิทรรศการทางการศึกษาเสมือนจริงโดยใช้เว็บไซต์ Spatial เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัยเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ที่ทำการคัดเลือกโดยใช้ดุลยพินิจ (Judgment Sampling) จากนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 กลุ่มทดลองระยะที่ 1 นักศึกษาในกระบวนวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2 เข้าร่วมชมห้องนิทรรศการบนโลกเสมือนจริง จำนวน 193 คน กลุ่มทดลองระยะที่ 2 นักศึกษาในกระบวนวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 1 ผลิตโปสเตอร์ และคลิปนำเสนอสื่อการสอน จำนวน 260 คน นักศึกษาในกระบวนวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2 ผลิตโปสเตอร์ และคลิปวิดีโอนำเสนองานวิจัย จำนวน 40 คน รวมทั้งสิ้น 300 ชิ้นงาน นักศึกษาที่เข้าร่วมชมห้องนิทรรศการบนโลกเสมือนจริง “RU’s EDU METAVERSE 2022” มีจำนวน 466 คน และอาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 29 คน มีจำนวนทั้งสิ้น 495 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสม (IOC) แบบประเมินความพึงพอใจ (rating scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


1. นิทรรศการบนโลกเสมือนจริงเป็นการจำลองแบบของสภาพแวดล้อมจริง และจินตนาการที่แสดงออกมาเป็น Virtual Exhibition 3 มิติ สร้างระบบสำหรับผู้ใช้คนเดียวหรือหลายคนที่เคลื่อนย้ายหรือโต้ตอบในสิ่งแวดล้อมที่จำลองมาโดยคอมพิวเตอร์ การได้ยิน การสัมผัสจากโลกที่จำลองขึ้น และปัจจัยสำคัญของห้องนิทรรศการบนโลกเสมือนจริงคือการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed learning) การให้โอกาสผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง


2. ห้องนิทรรศการบนโลกเสมือนจริงโดยใช้ Spatial App นำเสนอนิทรรศการเสมือน 360 องศา สื่อประกอบด้วยภาพ 3 มิติ ภาพนิ่ง เสียงประกอบ และคลิปวิดีโอ โดยจัดแสดงชุดผลงานวิชาการ 2 หัวข้อ ได้แก่ ชุดภาพโปสเตอร์และคลิปวิดีโอเกี่ยวกับสื่อการสอน ชุดภาพโปสเตอร์และคลิปการนำเสนอเกี่ยวกับงานวิจัย 3. กลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 2 หลังเข้าใช้ห้องนิทรรศการบนโลกเสมือนจริง มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}=4.49, S.D.= 0.20)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กฤษชัย ตันหลงขจร. (2564). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงเพื่อการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติราชบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัชวิน นามมั่น, อภิชาต บุญสุยา และวรวุฒิ ทองศิริ. (2563). การพัฒนาระบบจัดนิทรรศการเสมือนจริงโดยใช้กูเกิลการ์ดบอร์ด. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(1), 2–11.

ดลพร ศรีฟ้า. (2561). การใช้ความจริงเสมือนในพิพิธภัณฑ์ กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติฟินแลนด์. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 11(2), 2028-2039. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/143781

ทิพย์ธิดา ดิสระ, จินตนากสินันท์ และกฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์. (2562). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า จังหวัดสตูล. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 1(4), 55-68.

ภัทรียา ลูกจันทร์สุก และกุลชัย กุลตวนิช. (2562). นิทรรศการแสดงภาพถ่ายเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ทางการเกษตรเสมือน ออนไลน์สำหรับเยาวชนรุ่นใหม่.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 14(2), 1–16.

รัตนาพร เจียงคำ, ปรัชญนันท์ นิลสุข และปณิตา วรรณพิรุณ. (2557). การพัฒนานิทรรศการเสมือน 3 มิติ เรื่อง พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมในประเทศไทย ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 5(2), 85-93.

วรพจน์ ส่งเจริญ. (2560). การพัฒนารูปแบบพิพิธภัณฑ์เสมือนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และประสบการณ์ผู้ใช้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Chapman, C. (2016). Why you should be paying attention to agriculture photography. https://creators.vice.com/en_us/article/aenaap/why-agriculture-photography-matters.

Schubert, F. (2008). Online Virtual Exhibitions: Concepts and Design Considerations. DESIDOC. Journal of Library and Information Technology, 28 (4), 22-34.