การพัฒนากิจกรรมการเรียนผสมผสานแบบค้นพบ เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

สันติภาพ ศรีบาลแจ่ม
เหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนผสมผสานแบบค้นพบ เรื่อง การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการคิด เชิงคำนวณก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนผสมผสานแบบค้นพบ 3) ศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบค้นพบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนขยายโอกาส อำเภอสหัสขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 จํานวน 1 ห้องเรียน จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย 2) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent


ผลการวิจัยพบว่า


1) ประสิทธิภาพของการพัฒนากิจกรรมการเรียนผสมผสานแบบค้นพบ เรื่อง การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.10/82.75 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้


2) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนผสมผสานแบบค้นพบ เรื่อง การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนทักษะการคิดเชิงคำนวณเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผสมผสานแบบค้นพบ เฉลี่ยโดยรวมมีค่าเท่ากับ 4.52 ซึ่งอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ชิตพล ชื่นตา. (2561, 8 มีนาคม). การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method). http://chittaponchuenta.blogspot. com/2018/03/discovery-method.html

.

โชติกา สงคราม. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร] https://bit.ly/3S3fPUI

นพวรรณ ทะวะลัย. (2561). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามหลักการสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบเปิด (OLEs) ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสาคาม https://bit.ly/3VDfYRR

บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์. (2559). เกมบนโปรแกรมเชิงจินตภาพ และแนวคิดเชิงคำนวณอย่างเป็นระบบ Visual programming and computational thinking game. information science and technology, 6(2), 9-16.

วรางรัตน์ เสนาสิงห์. (2562, 26 เมษายน). การสอนวิทย์แบบสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21. คลังความรู้ SciMath. https://www.scimath.org/article-science/item/9607-21-9607.

วีระพงษ์ จันทรเสนา. (2563). การประเมินองค์ประกอบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โปรแกรมเชิงจินตภาพที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวน สำหรับนักเรียนใช้ประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสาคาม]. https://bit.ly/3D7jKvA

ศรายุทธ ดวงจันทร์. (2561). ผลการใช้แนวสะเต็มศึกษาในวิชาฟิสิกส์ที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. https://bit.ly/3D56tmY

สรพงค์ สุขเกษม. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานรายวิชา คอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐาน สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. https://bit.ly/3TbPCob

Gonzalez, M. R., Gonzalez, J. P., &Fernandez, C. J. (2017). Which cognitive abilities underlie computational thinking? criterion validity of the computational thinking test. Computers in Human Behavior, 72, https://doi.org/10.1016/j.chb.2016.08.047

Palts, T., &Pedaste, M. (2020). Model of learning computational thinking. Informatics in Education, 19(1), https://doi.org/10.15388/infedu.2020.06

Yadav, A., Zhou, N., Mayfield, C., Hambrusch, S., &Korb, J. T. (2011). Introducing computational thinking in education courses. In Proceedings of the 42nd ACM technical symposium on Computer science education, (465-470), https://doi.org/10.1145/1953163.1953297