การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ศิริวรรณ ถิตย์รัศมี

บทคัดย่อ

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) ออกแบบและสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 3.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีพัฒนาการมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 40 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 40 3.3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 3.4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้ และ 4) ประเมินและปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามชัยอุดมวิทย์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (gif.latex?\sigma) ค่าร้อยละ (%) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


ผลการวิจัย พบว่า


1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้จากครูผู้สอนและนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรให้นักเรียนมีวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ต้องใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิด สื่อที่ใช้ต้องเรียนรู้ร่วมกันได้ ใบกิจกรรมต้องทำทุกคน และใช้แบบทดสอบที่มีมาตรฐาน วัดตรงจุดประสงค์ และผลการศึกษา ทฤษฎี แนวคิดที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับธรรมชาติวิชาที่ต้องใช้การฝึกฝนส่งผลให้มีการออกแบบ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)


2. ผลการออกแบบและสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า มีเนื้อหาเกี่ยวกับทศนิยม จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ การอ่านและการเขียนทศนิยมไม่เกิน 3 ตำแหน่ง และการบวก การลบทศนิยมไม่เกิน 3 ตำแหน่ง มีการจัดทำคู่มือการใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) จำนวน 17 แผน โดยมีค่าประสิทธิภาพของ ชุดกิจกรรมในขั้นตอนการทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-One Testing) (1:1) เท่ากับ 68.90/64.44 และทดลอง แบบกลุ่มเล็ก (Small-Group Testing) (1:3) เท่ากับ 77.70/72.96 ปรับปรุงการใช้ภาษาให้เหมาะสมนำไปทดลองภาคสนาม (Field Testing) ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.41/80.10


3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนส่วนใหญ่สนใจ กระตือรือร้นต่อการเรียนซักถาม จนเกิดความกระจ่าง มีส่วนร่วม มีการปฏิบัติร่วมกันเป็นกลุ่ม และทำชุดกิจกรรมเดี่ยวส่งผลให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับจนเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์ พบว่า ชุดกิจกรรมมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.70/85.51 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน พัฒนาการของผู้เรียนหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 40 ดังนั้นผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 และผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีความพึงพอใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (µ = 4.44) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (gif.latex?\sigma)


4. ผลการประเมินและปรับปรุงชุดกิจกรรม พบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีคุณภาพตามเกณฑ์ ใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ แต่ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีเนื้อหา 2 เรื่องในเล่มเดียวกัน จึงควรแยกเป็นชุดออกมาให้ชัดเจน เพื่อความสะดวกในการใช้ เล่มของชุดกิจกรรมหยิบใช้ได้ง่าย สะดวกต่อผู้เรียนและไม่เกิดความสับสน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ฒิชากร ปริญญากาญจน์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เพื่อพัฒนา ผลการเรียนรู้เรื่องการบวกและการลบเลขของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ไม่ได้ตีพิมพ์].

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). สุวีริยาสาส์น.

ปชัญญะ ถานันตะ. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางคณิตศาสตร์ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ไม่ได้ตีพิมพ์].

ประภาศิริ ปราโมทย์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือควบคู่กับเกมเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่]. http://www.graduate.cmru.ac.th/core/km_file/407.pdf.

ยุพิน พิพิธกุล. (2561). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันวิสา ประภาศรี. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบเปิดร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐานและ STEM Education ที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ความสุขในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร]. https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/thesis_detail?r=59421231114

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). เอกสารประกอบการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ คณิตศาสตร์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สมนึก ภัททิยธนี. (2549). การวัดผลการศึกษา. ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อนิศา เนตรเกื้อกูล. (2561). การพัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่อง โจทย์ปัญหาการชั่ง ตวง วัด โดยใช้สื่อประสมและข้อมูลท้องถิ่นดอนยายหอม ร่วมกับเทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ไม่ได้ตีพิมพ์].

Hovermill, J. (2003). Technology supported inquiry learning with Fathom: A professional development project. Paper presented at the Society for Information Technology & Teacher Education International Conference.