ผลของสะตีมศึกษาที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง ธาตุและสารประกอบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ศิรินทร สีจันทึก
มิ่งขวัญ ภาคสัญไชย
กรวลัย พันธุ์แพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ การจัดการเรียนรู้สะตีมศึกษา เรื่อง ธาตุและสารประกอบ 2) ศึกษาความก้าวหน้าทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้สะตีมศึกษา เรื่อง ธาตุและสารประกอบ และ 3) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาหลังการจัด การเรียนรู้สะตีมศึกษา เรื่อง ธาตุและสารประกอบ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 33 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ซึ่งมีความเหมาะสมในภาพรวมในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.54-4.71) และแบบทดสอบทักษะ การแก้ปัญหาซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20–1.00 และค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78
ผลการวิจัยพบว่า


1) ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้สะตีมศึกษา เรื่อง ธาตุและสารประกอบ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนทักษะการแก้ปัญหาทุกกระบวนการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2) ความก้าวหน้าโดยความก้าวหน้าของทักษะการแก้ปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (<g> = 0.52)


3) คะแนนทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้การจัดการเรียนรู้สะตีมศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 รูปแบบออนไลน์ยังช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ และช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียนให้สูงขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/245317/168931

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย, ปัญญา ทองนิล, นภาเดช บุญเชิดชู, ชัยยุทธ มณีรัตน์, โยธิน ศรีโสภา และมุทิต ทาคำแสน. (2563). การเรียนรู้จากการปฏิบัติ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 10(3), https://journal.pbru.ac.th/admin/upload/article/5729-2021-04-05.pdf

ชณิการณ์ ผ่อนผัน. (2562). การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมดุลเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. https://tdc.thailis.or.th/tdc/index.php

ทิพวรรณ เมืองพิณ. (2562). ทักษะการแก้ปัญหาตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. https://tdc.thailis.or.th/tdc/index.php

ธีระญา ปราบปราม. (2564). ผลกระทบการเรียนรู้ในวิชานิติศาสตร์ จากกรณีการระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 4(2), https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/26/49

นารารักษ์ ผ่องปัญญา. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน ผ่านกระบวนการกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. https://tdc.thailis.or.th/tdc/index.php

พรทิพย์ วงศ์ไพบูลย์. (2560). การเรียนรู้เชิงรุกและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active Learning). วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 8(2), https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/178540/126898

พิชมญล์ สินประเสริฐรัตน์, เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ และภัทรภร ชัยประเสริฐ. (2565). การพัฒนาบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แบบย่อส่วน เรื่อง กรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(1), https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/195398 /170896

วีรพงษ์ จุลสอน. (2563). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี]. https://tdc.thailis.or.th/tdc/index.php

มินตรา กระเป๋าทอง. (2561). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์]. https://tdc.thailis.or.th/tdc/index.php

สุภัค โอฬาพิริยกุลม. (2562). STEAM EDUCATION: นวัตกรรมการศึกษาบูรณาการสู่การจัดการเรียนรู้. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(1), https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jrcd/article/view/156426/138280

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40),

https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/250336/170299

Davenport, J. L., Rafferty A. N. & Yaron, J. D. (2018). Whether and How Authentic Contexts Using a Virtual Chemistry Lab Support Learning. Journal of Chemical Education, 95(8), 1250-1259, https://doi.org/10.1021/acs.jchemed.8b00048

Pitre, D., Stokes S. & Mlsna D. (2020). Development of an at-Home Chemistry Lab Experience for Survey of Organic Chemistry Students. Journal of Chemical Education, 98(7), 2403-2410, https://doi.org/10.1021/acs.jchemed .0c01262

Roberts, T. & Schnepp, J. (2020). Building problem-solving skills through STEAM. technology and engineering teacher, 79(8), https://web.p.ebscohost.com/ehost/pdfviewer/pdfviewer?vid=3&sid=083e3cfc-879a-4563-b04f-19bb8af401bf%40redis

Thuneberg, H., Salmi, H. & Bognerb, K. (2018). How creativity, autonomy and visual reasoning contribute to cognitive learning in a STEAM hands-on inquiry-based math module. ScienceDirect, 29, 153-160, https://doi.org/10.1016/j.tsc.2018.07.003

Yuriev, E., Naidu, S., Schembri, L. S. & Short, J. L. (2017). Scaffolding the development of problem-solving skills in chemistry: guiding novice students out of dead ends and false starts. Chemistry Education Research and Practice, 18, 486-504,

https://doi.org/10.1039/c7rp00009j