แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยการโค้ช เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูของนิสิต/นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยการโค้ชเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูของนิสิต/นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยการโค้ชเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูของนิสิต/นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ วิธีดำเนินการวิจัยโดยการใช้เทคนิคเดลฟาย สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบสอบถามปลายเปิด และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 7 ระดับ ในรอบที่ 2 และรอบ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่ามัธยฐานและพิสัยระหว่างควอไทล์ คัดเลือกแนวทางการพัฒนาจากค่ามัธยฐานระดับมากขึ้นไป
ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยการโค้ชเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูของนิสิต/นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ผู้เชี่ยวชาญมีฉันทามติที่สอดคล้องกัน มีแนวทาง 6 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 คือ การรวมกลุ่มของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ องค์ประกอบที่ 2 วิเคราะห์และระบุปัญหา/สิ่งที่ต้องการพัฒนา องค์ประกอบที่ 3 เลือกและออกแบบจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 วิพากษ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับปรุงแก้ไข องค์ประกอบที่ 5 จัดการเรียนรู้/กิจกรรม/นวัตกรรม และองค์ประกอบที่ 6 ประเมินผล/สะท้อนกลับการจัดการเรียนรู้ ซึ่งแต่ละองค์ประกอบ ประกอบไปด้วยการโค้ช 3 ขั้นตอน คือขั้นก่อนการสอนงาน ขั้นการสอนงาน และขั้นสรุปผลการสอนงาน และเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ถูกนำมาใช้สนับสนุนในแต่ละขั้นตอนประกอบด้วย 5 ด้าน คือ 1. ด้านการสื่อสาร (Communication) 2. ด้านการทำงานร่วมกัน/การทำงานเป็นทีม (Teamwork) 3. ด้านการประชุม (Meeting) 4. ด้านการนำเสนอ(Presentation) และ 5. ด้านสะท้อนคิด (Reflection)
Downloads
Article Details
References
กาญจนา จันทร์ประเสริฐ. (2562). การประเมินประสิทธิผลโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระยะที่ 3 ศูนย์มหาวิทยาลัยรังสิต. รายงานสืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562, 646–656.
ขวัญฤดี ฮวดหุ่น. (2560). อิทธิพลของแอปพลิเคชันไลน์ในการสื่อสารยุคปัจจุบัน. วารสารศิลปการจัดการ, 1(2), 75–88.
ชาริณี ตรีวรัญญู. (2560). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน: แนวคิดและแนวทางสู่ความสำเร็จ. วารสารครุศาสตร์, 45(1) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/106153/84095
ชูชาติ แปลงล้วน. (2563). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรมสพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(7), 381–393.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 10(2) https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/98396
ปรัชญา ขันธนิยม. (2557). ข้อนำและผลของการใช้เทคโนโยีการทำงานร่วมกันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในสถาบันการศึกษา. [วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:146345
ไพฑูรย์ สินลารัตน์, สินธะวา คามดิษฐ์, เฉลิมชัย มนูเสวต, วาสนา วิสฤตาภา และนักรบ หมี้แสน. (2560). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2561). วิเคราะห์องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC). Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 11(3) https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/164352
เรวณี ชัยเชารัตน์, ชาริณี ตรีวรัญญู และอัมพร ม้าคนอง. (2561). ผลการเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาปฏิบัติการ วิชาชีพครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(4), 318–338.
ศิลป์ปวิชญ์ จันทร์พุธ และวรวุฒิ มั่นสุขผล. ผลการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับการใช้เทคโนโลยีการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ที่มีต่อความสามารถในการออกแบบอินโฟกราฟิกของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts) 11(3) https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/158041
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่สถานศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุเวท สอนเวียง. (2560). การบริหารงานโครงการก่อสร้าง ด้วยแอพพลิเคชั่น Trello [วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]. http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/7982
เหมือนฝัน ชมมณี และสิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา. (2557). การวิเคราะห์กระบวนการชี้แนะของครูและผลที่เกิดกับผู้เรียน: พหุกรณีศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(2) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20401/17717
ออมสิน จตุพร. (2561, 7 พฤศจิกายน). การปรับหลักสูตรการผลิตครู: มุมมองเชิงปรัชญาและตรรกะแห่งวิชาชีพครู. https://prachatai.com/journal/2018/11/79495
อุมาสวรรค์ ชูหา, พัชรา สมชื่อ, สุภาวดี นาคสุขุม, ปุณรดา พวงสมัย, รุ่งนภา ประยูรศิริศักดิ์ และจริยา มงคลสวัสดิ์. (2562). ผลิตพยาบาลอย่างไรให้ตอบโจทย์ผู้ใช้บัณฑิตในศตวรรษที่ 21: ความท้าทายของอาจารย์พยาบาลไทย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16(2), https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/219499
Bonces, M. R. (2014). Organizing a Professional Learning Community - A Strategy to Enhance Professional Development. Íkala, Revista de Lenguaje y Cultura, 19(3), 307–319. DOI: 10.17533//udea.ikala.v19n3a06 http://www.scielo.org.co/scielo.php?script=sci_arttext&pid=S0123-34322014000300006
Brookfield, S. D. (2017). Becoming a Critically Reflective Teacher. Jossey Bass Publishers.
Darling-Hammond, L. (2000). How Teacher Education Matters. Journal of Teacher Education, 51(3), 166–173. https://doi.org/10.1177/0022487100051003002
DeWitt, D., Alias, N., & Siraj, S. (2014). The design and development of a Collaborative mLearning prototype for Malaysian secondary school science. Educational Technology Research and Development, 62(4), 461–480. https://doi.org/10.1007/s11423-014-9340-y
Gofine, M., & Clark, S. (2017). Integration of Slack, a cloud-based team collaboration application, into research coordination. Journal of Innovation in Health Informatics, 24(2), 936. https://doi.org/10.14236/jhi.v24i2.936
Koh, J., & Divaharan, S. (2011). Developing Pre-Service Teachers’ Technology Integration Expertise Through the TPACK-Developing Instructional Model. Journal of Educational Computing Research, 44, 35–58. https://doi.org/10.2190/EC.44.1.c
Kristmanson, P. L., Lafargue, C., & Culligan, K. (2011). From Action to Insight: A Professional Learning Community’s Experiences with the European Language Portfolio. 14, 15.
McCollum, J. A., Hemmeter, M. L., & Hsieh, W.-Y. (2013). Coaching Teachers for Emergent Literacy Instruction Using Performance-Based Feedback. Topics in Early Childhood Special Education, 33(1), 28–37. https://doi.org/10.1177/0271121411431003
Olivier, D., & Huffman, J. (2016). Professional learning community process in the United States: Conceptualization of the process and district support for schools. Asia Pacific Journal of Education, 36, 301–317. https://doi.org/10.1080/02188791.2016.1148856
Özden, M. Y., Arifoğlu, A., & Er, E. (2009). LIVELMS: A Blended e-Learning Environment. The International Journal of Learning: Annual Review, 16(2), 449–460. https://doi.org/10.18848/1447-9494/CGP/v16i02/46147
Shanks, J. (2016). Social Selling Mastery: Scaling Up Your Sales and Marketing Machine for the Digital Buyer (1st edition). Wiley.
Wise, C., Bradshaw, P., & Cartwright, M. (2012). Leading Professional Practice in Education. in Leading Professional Practice in Education. SAGE Publications.https://doi.org/10.4135/9781473915152