การพัฒนาบทเรียนโมบายเลิร์นนิงร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่อง วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

Main Article Content

หาญรงณ์ บัวทอง
นุชนาฏ ใจดำรงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนโมบายเลิร์นนิงร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติตามแนวคิด ของเดวีส์ เรื่อง วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษา 3) เปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านทักษะการปฏิบัติงานของนักศึกษากับเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนโมบายเลิร์นนิง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนในรายวิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้แก่นักศึกษาสาขาวิชาเครื่องกล วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส จำนวน 58 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้สาขาวิชาเป็นหน่วยของการสุ่มและมีการจัดกลุ่มห้องเรียนแบบคละความสามารถทางการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนโมบายเลิร์นนิงร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่อง วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนโมบายเลิร์นนิง 4) แบบวัดทักษะสำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบที (t-test Dependent) ผล


การวิจัย พบว่า


1) ประสิทธิภาพของบทเรียนโมบายเลิร์นนิงร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่อง วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.25/ 82.10 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด


2) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


3) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านทักษะการปฏิบัติงานของนักศึกษา มีทักษะการปฏิบัติงานร้อยละ 85.48 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนโมบายเลิร์นนิง มีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.45, S.D.= 0.63)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 5(1), http://www4.educ.su.ac.th/2013/images/stories/081957-02.pdf

ชายแดน มิ่งเมือง. (2560). ผลการศึกษาการจัดการเรียนรู้โมบายเลิร์นนิง ด้วยเทคนิคสเปซรีพิททิชั่น. วารสารวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4 (2),

https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/download/115363/89157

ภัทรวรรธน์ ไกรปิยเศรษฐ์, ณมน จีรังสุวรรณ และพินันทา ฉัตรวัฒนา. (2562). การออกแบบรูปแบบโมบายเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์ผ่านโซเชียลคลาวด์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ร่วมกันของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 10(2), http://journal.fte.kmutnb.ac.th/download/v10n2/journalFTE-Fulltext-2019-10-2-14.pdf

สืบวงศ์ ชื่นสมบัติ, และวิภาศิริ แจ้งหอมทอง. (2563). การออกแบบทัศนะสำหรับโมบายเลิร์นนิง. วารสารวิชาการ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/242598/164732

สืบวงศ์ ชื่นสมบัติ, ศศิฉาย ธนะมัย และวิภาศิริ แจ้งหอมทอง. (2564). ผลการเว็บแอปพลิเคชั่นตามรูปแบบการเรียนการสอนผ่านโมบายเลิร์นนิงตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับวิธีการสอนแบบโฟนิกส์เพื่อสริมสร้างทักษะการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 16(20), https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ectstou/article/ mdownload/244543/167225/889786

อรชร เกษมเวชยานนท์. (2560). บทเรียนโมบายเลิร์นนิงเพื่อการทบทวน เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง] http://ebook.lib.kmitl.ac.th/library/book_detail/09015164