การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ ท้องถิ่นเป็นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Long Neck Grandmother สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Long Neck Grandmother สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อ เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Long Neck Grandmother สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Long Neck Grandmother สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน สังกัดเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวนทั้งสิ้น 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็น หน่วยในการสุ่ม เครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่น เป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ แบบวัดเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบสมมุติฐานด้วยการทดสอบที (t-test Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Long Neck Grandmother สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เท่ากัน 75.85/75.80 เป็นไป ตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Long Neck Grandmother สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 0.6741 แสดงว่านักเรียน มีความก้าวหน้าในการเรียนหรือมีคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 67.41
3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Long Neck Grandmother สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถในการสื่อสาร ภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
4. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Long Neck Grandmother สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กองการศึกษา เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน. (2560). รายงานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ปีการศึกษา 2560. เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน.
ชาญชาติ ถนอมตน. (2560, 15 พฤศจิกายน). Thailand 4.0 สำเร็จได้ด้วย Education 4.0 ผ่านสถานศึกษาที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. https://www.gotoknow.org/posts/628643
ณัชปภา โพธิ์พุ่ม, พระปรัชญา ถิ่นแถว และทองพูล, ขุมคำ. (2561) การพัฒนาทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้กระบวนการทฤษฎี CLT. [รายงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์]. http://198.7.63.81:8080/xmlui/handle/123456789/344
นิภาวรรณ นวาวัตน์. (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแบบเน้นภาระงานร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream /123456 789/2614/1/57254908.pdf
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2557). ครูในศตวรรษที่ 21. ใน เอกสารประชุมวิชาการ“อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย”. สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.).
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของครูในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 11(3) 179-191.
สมพร ทับอาสา. (2562} 24 กรกฏาคม). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ 4 โดยใช้ Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. https://www.kruwandee.com/forum/10.html?wbid=48005
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2558). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแม่ฮ่องสอน. (2560). รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแม่ฮ่องสอน. ฝ่ายวิชาการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). แนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยและส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรูของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน, ใน เอกสารประกอบการประชุมโครงการวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรูของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). หลักสูตรฝึกอบรมการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยกระบวนการ Coaching & Mentoring. กระทรวงศึกษาธิการ.
Purwanti, D., Gunarhadi & Musadad, A.A. (2019). The effect of local-based 2013 curriculum implementation on students’ environmental awareness. International Journal of Educational Research Review, 4(1) https://dergipark.org.tr/tr/download/article-file/578808