การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันร่วมกับการเรียนการสอนโดยใช้การตัดสินใจเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการประเมินเหตุผลสำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นพรีคลินิก

Main Article Content

ดลธรัตน์ จูฑะมณีโรจน์
เนาวนิตย์ สงคราม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับเว็บแอปพลิเคชันร่วมกับการเรียนการสอนโดยใช้การตัดสินใจเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการประเมินเหตุผลสำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นพรีคลินิก 2) พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันร่วมกับการเรียนการสอนโดยใช้การตัดสินใจเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการประเมินเหตุผลสำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นพรีคลินิก 3) ศึกษา ผลการใช้เว็บแอปพลิเคชันร่วมกับการเรียนการสอนโดยใช้การตัดสินใจเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการประเมินเหตุผลสำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นพรีคลินิก 4) เพื่อประเมินรับรองเว็บแอปพลิเคชันร่วมกับการเรียนการสอนโดยใช้การตัดสินใจเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการประเมินเหตุผลสำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นพรีคลินิก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาแพทย์ชั้นพรีคลินิก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) เว็บแอปพลิเคชันร่วมกับการเรียนการสอนโดยใช้การตัดสินใจเป็นฐานเพื่อส่งเสริม การประเมินเหตุผลสำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นพรีคลินิก 3) แบบวัดการประเมินเหตุผล 4) แบบประเมินการประเมินเหตุผลจากการใช้งานเว็บแอปพลิเคชันด้วยรูบิกส์ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบ Dependent


ผลการวิจัยพบว่า


1. ผลการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับเว็บแอปพลิเคชันร่วมกับการเรียนการสอนโดยใช้การตัดสินใจเป็นฐานเพื่อ ส่งเสริมการประเมินเหตุผล พบว่า 1) การประเมินเหตุผลเป็นความสามารถในการใช้ข้อมูลแยกแยะความถูกต้องของ สิ่งต่าง ๆ เพื่อระบุเป็นข้อสรุป ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ การประยุกต์หลักการ การตั้งสมมติฐาน และการแสดงเหตุผล 2) การเรียนการสอนโดยใช้การตัดสินใจเป็นฐาน เป็นการเรียนการสอนที่ใช้การแก้ไขปัญหาผ่านการตัดสินใจของผู้เรียน จึงประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอนคือ ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน และผู้สอนเตรียมคลังปัญหาหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้ตัดสินใจ 3) เว็บแอปพลิเคชัน คือโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถเข้าถึงผ่านอินเตอร์เน็ต เบราเซอร์ ไม่จำเป็นต้องติดตั้งก่อนงาน รองรับทุกระบบปฏิบัติการ ทั้งคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน และสามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้แบบทันที มีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ เทคโนโลยีฝั่งผู้ใช้งานและเทคโนโลยีฝั่งเซิร์ฟเวอร์


2. เว็บแอปพลิเคชันที่ได้พัฒนาขึ้น ใช้องค์ประกอบของการเรียนการสอนโดยใช้การตัดสินใจเป็นฐาน ได้แก่ คลังปัญหา แบบจำลองรูปแบบการตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญ และ การตัดสินใจของผู้เรียน โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การเกริ่นนำ 2) การเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) การตัดสินใจ และ 4) การประเมินผล


3. ผลการใช้เว็บแอปพลิเคชันของผู้เรียน มีดังนี้ 3.1 ผู้เรียนมีการประเมินเหตุผลหลังเรียน (gif.latex?\bar{x}=4.28, S.D.=0.43) สูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\bar{x}=3.78, S.D.=0.41) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3.2 ผู้เรียนมีความพึงพอใจจากการใช้งานเว็บแอปพลิเคชันภาพรวมในระดับพึงพอใจมาก (gif.latex?\bar{x}=4.47, S.D.=0.41)


4. ผลการประเมินรับรองเว็บแอปพลิเคชันโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีคะแนนในภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.67, S.D.=0.47)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

จริยา จิรานุกูล, อาทิตยา รัตนโรจนากุล, กฤตยชญ์ ไชยคำภา, และ นิรันดร์ อินทรัตน์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการสอบผ่านการประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมขั้นตอนที่ 1-2-3 ของนิสิตแพทย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ธรรมศาสตร์เวชวาร, 19(2), 385-395.

ชัยพร สุวรรณประสพ, ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ, และ ฤทธิชัย อ่อนมิ่ง. (2562). เว็บแอปพลิเคชันวีดีทัศน์ปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 13(2), 57-72.

ภคณัท ศุภประเสริฐ, นัทธมน ศรีดาทน, พิราวรรณ หนูเสน, อนัญญา พงษ์ไพบูลย์, และ เทอดเกียรติ ตรงวงศา. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของการสอบประมวลความรอบรู้ทางปรีคลินิกและการสอบเพื่อรับการประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ขั้นตอนที่ 1ของนักศึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. เวชบันทึกศิริราช, 3(4), 279-285.

ราเชนทร์ นามวงศ์, สุภาวดี หิรัญพงศ์สิน, และ ณัฏฐ์ ดิศเจริญ. (2561). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการจัดการข้อเสนอโครงงานสำหรับการเรียนรู้ด้วยวิจัยเป็นฐาน. วารสารวิทยาศาสร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 1(1). 1-16.

วิรเธียร ถวัลย์วงศ์ศรี, และ ธารินทร์ เพ็ญวรรณ. (2560). การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาแพทย์สำหรับการประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมขั้นตอนที่ 1: การศึกษานำร่อง. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 3(2), 21-41. doi:10.14456/jli.2017.11

Amirtha, R., Gupta, R., Rehan, H., & Gupta, L. (2017). Impact of Computer Assisted Learning as Teaching Modality on Learning & Understanding of Pharmacology Among Undergraduate Medical Students. Indian J. Physiol Pharmacol 61(2) https://ijpp.com/IJPP%20archives/2017_61_2/202-207.pdf

Fung, D. (2017). The pedagogical impacts on students’ development of critical thinking dispositions: Experience from Hong Kong secondary schools. Thinking Skills and Creativity, 26, 128-139.

Heard, J., Scoular, C., Duckworth, D., Ramalingam, D., & Teo, I. (2020). Critical Thinking: Skill Development Framework. Australian Council for Educational Research. https://research.acer.edu.au/ar_misc/41

Kim, D.-H., Lee, J.-H., & Kim, S. A. (2020). The pharmacology course for preclinical students using team-based learning. Korean journal of medical education, 32(1), 35-46.

Mansouri, M., Bigdeli, S., Dehnad, A., Sohrabi, Z., Alizadeh, S., & Keshavarzi, M. H. (2020). Exploring the features of mobile phone application of anatomy in basic medical sciences: a qualitative study. BMC Medical Education, 20(1), 2-31.

Muali, C., Islam, S., Bali, M. E. I., Hefniy, H., Baharun, H., Mundiri, A., Fauzi, A. (2018). Free Online Learning Based on Rich Internet Applications; The Experimentation of Critical Thinking about Student Learning Style. Paper presented at Samarinda and Grand

Nanggroe, Indonesia.

Patel, S. (2019). Insights Into Decision-Based Learning. https://elearningindustry.com/insights-into-decision-based-learning

Paul, R., & Elder, L. (2019). The Miniature Guide to Critical Thinking: Concepts and Tools (8th ed.): The Foundation for Critical Thinking.

Plummer, K. J. (2021). How to Use Decision-based Learning. In N. Wentworth, K. J. Plummer, & R. H. Swan (Eds.), Decision-Based Learning An Innovative Pedagogy That Unpacks Expert Knowledge for the Novice Learner. 11-18.

Plummer, K., Taeger, S., & Burton, M. (2020). Decision-based learning in religious education. Teaching Theology & Religion, 23(2), 110-125.

Sansom, R. L. (2021). Make Thinking Explicit to Support Student Learning. In N. Wentworth, K. J. Plummer, & R. H. Swan (Eds.), Decision-Based Learning An Innovative Pedagogy That Unpacks Expert Knowledge for the Novice Learner 31-43.

Sansom, R. L., Suh, E., & Plummer, K. J. (2019). Decision-Based Learning: ″If I Just Knew Which Equation To Use, I Know I Could Solve This Problem!″. Journal of Chemical Education, 96(3), 445-454.

Vare, V., Kurle, D., Bagle, T., Hire, R., & Shukla, A. (2017). Evaluation of teaching methods in pharmacology among MBBS students. International Journal of Basic & Clinical Pharmacology.

Wardani, S., Lindawati, L., & Kusuma, S. B. W. (2017). The Development of Inquiry by Using Android-System-Based Chemistry Board Game to Improve Learning Outcome and Critical Thinking Ability. Jurnal Pendidikan IPA Indonesia, 6, 196-205. https://doi.org/10.15294/jpii.v6i2.8360