การพัฒนาชุดการสอนโดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วม เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

Main Article Content

เนติรัฐ วีระนาคินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research& Development) โดยยึดหลัก The seven steps Model (Brahmawong and Vate-U-Lan. 2009) มีความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการชุดการสอน เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2) เพื่อพัฒนาชุดการสอนโดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วม เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงสำหรับนักเรียนโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้ ชุดการสอนโดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วม เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนโรงเรียนการศึกษา คนตาบอดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 44 คน  โดยจำแนกตามขั้นตอน การวิจัยดังนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาชุดการสอน จำนวน 10 คน ผู้เชี่ยวชาญประเมินความครอบคลุมองค์ประกอบของชุดการสอน จำนวน 15 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 19 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับ ความต้องการรูปแบบชุดการสอน แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความครอบคลุมองค์ประกอบ ของชุดการสอน แบบประเมินคุณภาพชุดการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมิน ความพึงพอใจของนักเรียนโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด หลังจากเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลความต้องการรูปแบบชุดการสอน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความต้องการชุดการสอน ดังนี้ (1) หนังสือ อักษรเบรลล์สำหรับนักเรียนตาบอดสนิท (2) วีดิทัศน์เพื่อการศึกษาสำหรับนักเรียนตาบอดสนิทและนักเรียนที่มองเห็นแบบเลือนราง (3) หนังสือประกอบที่มีขนาดตัวอักษรขนาด 20 พอยท์ สำหรับนักเรียนที่มองเห็นแบบเลือนราง 2. ผลการพัฒนาชุดการสอน มีดังนี้ (1) ชุดการสอน ประกอบด้วย (1.1) หนังสืออักษรเบรลล์ (1.2) วีดิทัศน์เพื่อการศึกษา (1.3) หนังสือประกอบวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา และ (2) กระบวนการพัฒนาชุดการสอนโดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วม มี 7 ขั้นตอน ดังนี้ (2.1) การร่วมกันกำหนดประเด็นปัญหา (2.2) การร่วมกันวิเคราะห์คุณลักษณะ ของกลุ่มเป้าหมาย (2.3) การร่วมกันประเมินความต้องการรูปแบบชุดการสอน (2.4) การร่วมกันการออกแบบชุดการสอน (2.5) การผลิตชุดการสอน (2.6) การประเมินชุดการสอน (2.7) การนำชุดการสอนไปใช้ และ 3. ผลการทดลองใช้ชุดการสอน พบว่า กลุ่มทดลองมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 75.42 และความพึงพอใจของกลุ่มทดลองที่มีต่อชุดการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2552). ชุดการเรียนการสอน หน่วยที่ 14 ใน เอกสารประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เนติรัฐ วีระนาคินทร์. (2560). การพัฒนาวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาโดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วม เรื่องการเลี้ยงกระบือตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 32(3), 1-18. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/246558

เผชิญ กิจระการ และสมนึก ภัททิยธนี. (2563). ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.). ทฤษฎีและวิธีการวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วนัดดา ปิยะศิลป์. (2558). คู่มือการตรวจประเมิน วินิจฉัย และแนวทางช่วยเหลือเด็กพิการ. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.

Al-Delaimy, A. K., Al-Mekhlafi, H. M., Lim, Y. A., Nasr, N. A., Sady, H., Mahmud, W. M.,& Rohela, A. (2009). Developing and evaluating health education learning package (HELP) to Cotrol soil-transmitted helminth infection among Orang Asli children in Malasia. BioMed Central. 7(1), 1-18. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25179100/ doi: 10.1186/1756-3305-7-416

Brahmawong, C. and Vate-U-Lan, P. (2009). Guidelines for Ph.D. Research Actions. Assumption University of Thailand. http://poonsri.weebly.com/uploads/6/4/7/8/6478662/guide_el9001_16_2009.pdf

Gennari, R., Melonio, A., Raccanello, D., Brondino, M., Dodero, V., Pasini, M. & Torello, S.. (2017). Children’s emotions and quality of products in participatory game design. International Journal of Human-Computer Studies. 101, 45-61. https://doi.org/10.1016/j.ijhcs.2017.01.006