การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารภาษาจีนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการค้นพบที่มีการชี้แนะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ธันย์ชนก สุขเลิศนันทกิจ
ไพทยา มีสัตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถการสื่อสารภาษาจีนของนักเรียน โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการค้นพบที่มีการชี้แนะกับเกณฑ์ร้อยละ 75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีน ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีผลต่อการเรียนภาษาจีนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการค้นพบที่มีการชี้แนะ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดพลมานีย์ เขตลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) และ โดยใช้วิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการค้นพบ ที่มีการชี้แนะ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาจีน 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาจีน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติตรวจสอบสมมุติฐาน โดยใช้ t-test for One sample และ t-test for Dependent samples สรุปผล ในรูปตารางและการพรรณนา อภิปรายผล


ผลการวิจัยพบว่า


1) นักเรียนมีความสามารถการสื่อสารภาษาจีนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการค้นพบ ที่มีการชี้แนะสูงกว่าเกณฑ์กำหนดคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (sig.=.000, t = 10.017*)


2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีน คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (sig.= .000, t=19.370*) 3) ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีผลต่อการเรียนภาษาจีนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการค้นพบที่มีการชี้แนะ โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.56, S.D. = 0.61)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

คมสัน อินทะเสน และคณะ. (2560). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. การค้นคว้าอิสระ. หลักสูตรปริญญารัฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

เจิ้ง อ้ายผิง. (2560). การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดปทุมธานีตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เฉลิมรัตน์ เชิดชู. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการสอนด้วยวิธีค้นพบโดยใช้เกมกับการสอน แบบปกติ.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ณิชพัณณ์ เฉลิมพันธ์. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเลขยกกำลังโดยวิธีการเรียนรู้แบบค้นพบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต. วารสารศึกษาศาสตร์, 18(86), 1-2.

ธนภณ ไชยชนะ. (2557). การพัฒนาการเขียนพินอิน (สระลดรูป) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย (รายงานผลการวิจัย). โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย.

น้ำลิน เทียมแก้ว. (2558). การพัฒนาระบบบริการสารสนเทศเพื่อการวิจัย สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. วารสารสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ. 4 (1), 82–95.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

รุ่งฤดี แผลงศร. (2560). ศาสตร์การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิภาวรรณ สุนทรจามร. (2559). การสังเคราะห์ภาพรวมการวิจัย. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 18 (14), 66-72.

วิสุดา บุญแฝง. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ ที่เน้นการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้ใฝ่เรียนและผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์องนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.วารสารศึกษาศาสตร์, 12 (1) ,202.

สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน. (2558). จุฬาฯรุกวิจัย-สร้างโมเดลใหม่ปฎิรูปการเรียนภาษาจีนในไทยทั้งระบบ. [ออนไลน์] ได้จาก https://www.thaizhong.org/th/. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2563].

สุนีย์ เหมะประสิทธิ์. (2557). การยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาสำหรับนิสิตครูโดยการเรียนรู้แบบค้นพบ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6 (11),199-211.

ศูนย์จีนศึกษาสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.(2558). [ออนไลน์] ได้จาก https://www.thaizhong.org /th/. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2563].

Abu El-Magd, M. (2017). Guided Discovery Based Gamified Tasks for Improving Primary Pupils’ Grammar Learning. [online] Available from: https://www.researchgate.net/publication /341339865 [accessed 18 December 2020]

Bloom, B. S. (1968). Learning for mastery. Los Angeles: The Center for the Study of Evaluation of Instructional Programs. University of California.

Brown, E. (2006). Discovery Learning in the Classroom. [Online] Available from: https://www. researchgate. net/publication/305174476_Discovery_Learning_in_the_Classroom [accessed 18 October 2020].

Brown, H. D. (2014). Principles of language learning and teaching (6th ed.). Pearson Education.

Carbaugh, D. (2009). Putting policy in its place through cultural discourse analysis. Unpublished paper presented at the International Colloquium on Communication,Schoodic Peninsula, Maine.

Casad & Jawaharlal. (2012). Learning through Guided Discovery: An Engaging Approach to K-12 STEM Education. [online] Available from: https://www.researchgate.net/publication/259360809 [accessed 15 October 2020].

Feng Qi. (2018). Application of the Guided Discovery Method to English Grammar Teaching in Junior High School. Applied Linguistics, 14(4), 385-407.

Gall, M. D., Borg, W. R., & Gall, J. P. (1996). Educational research: An introduction (6th ed.). Longman Publishing.

Gholamian, A. (2013). Studying the Effect of Guided Discovery Learning on Reinforcing the Creative Thinking of Sixth Grade Girl Students in Qom. during 2012-2013 Academic Year.

Huda, L. R. N. (2017). The Use of Discovery Learning and Pictures to Improve Student’s Reading Comprehension. [online] Available from: http://erepository.perpus.iainsalatiga.ac.id /2236/ [accessed 5 December 2020].

Jiang, N., & Nekrasova, T.M. (2007). The processing of formulaic sequences by second language speakers. The Modern Language Journal, 91, 433-445.

Laal, M. & Ghodsi, S.M. (2012) Benefits of collaborative learning. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 31, 486-490.

Linder, C. (1977). Oral Communication Testing. Illinois: National Textbook Company, London: Cambridge University Press.

McDonald, B. (2011). Self Assessment and Discovery Learning O’Meara Campus, University of Trinidad and Tobago. [online] Available from: http://bettymcdonald.cgpublisher.com/biography/CGCurriculum Vitae/ fid=1411777/Dr.%20Betty%20McDonald’s%20CV%20%20Jan%202013.pdf [accessed 2 January 2021].

Meesat, P. (2015). Somatically-enhanced approach (SEA) in intensive Thai course for academic purposes. [online] Available from: https://researchsystem.canberra.edu.au/ws/portalfiles /portal/33681381/file [accessed 4 December 2020]

Nunan, D. (2004). Task-Based Language Teaching. Cambridge, UK; New York, NY: Cambridge University Press, 126.

Penfield, W., & Lamar, R. (1959). Speech and brain-mechanisms. Princeton: Princeton University Press.

Rahmi, Y. et al. (2014). The Use of Discovery Learning strategy in teaching reading report texts to senior high school students. [online] Available from: http://ejournal.unp.ac. id/index.php/jelt /article/viewFile/4374/3432 [accessed 16 October 2020]

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Shieh, C. J., & Yu, L. (2016). A Study on Information Technology Integrated Guided Discovery Instruction towards Students’ Learning Achievement and Learning Retention. EURASIA Journal of Mathematics, Science & Technology Education, 833-842.

Tabatabaee Lotfi, Abdol-Majid. (2019). The Effects of Guided-discovery, Self-discovery, and Situational-presentation Techniques on Learning Conditional Sentences in English. [online] Available from: file:///C:/Users/user/Downloads/The_Effects_of_Guided-discovery_Self-discovery_and%20(1).pdf file:///C:/Users/user/Downloads/The_Effects_of_Guided-discovery_Self-discovery_and.pdf [accessed October 15,2020,]

Ushigusa, Sh. (2008). The relationships between oral fluency and multiword units. Unpublished doctoral dissertation, Purdue University-Purdue.