การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

ธวัลพร ชุบขุนทด
มนตรี วงษ์สะพาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ1)เพื่อวิเคราะห์จำแนกวิธีการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากงานวิจัยและงานวิทยานิพนธ์ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี 2550 – 2562 2) เพื่อศึกษาหาค่าขนาดอิทธิพล วิธีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพล ระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกันที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 43เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยและแบบสรุปคุณลักษณะงานวิจัย ข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วย ค่าขนาดอิทธิพลโดยการวิเคราะห์อภิมานด้วยวิธีของกลาส (Glass) จำนวน 43 ค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการบรรยายและเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)


ผลการศึกษาพบว่า


1.จากการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 43 เรื่อง พบว่า วิธีการจัด การเรียนรู้ที่ศึกษามากที่สุดคือ วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองมากที่สุด (ร้อยละ 46.51)


2.ค่าอิทธิพลวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ย คือ 3.531 วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ย คือ 2.957 วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสร้าง องค์ความรู้ด้วยตนเองมีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ย คือ 2.695 และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ย คือ 2.618


3.เมื่อเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพล ระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า วิธีจัด การจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนได้ดีที่สุด คือ วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน รองลงมาคือ วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ตามลำดับ เมื่อนำค่าขนาดอิทธิพลมาเปรียบเทียบด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA) ปรากฏว่า วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์สูงกว่า วิธีจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิธีจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะและวิธีจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนและความคิดสร้างสรรค์ไม่แตกต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ทิศนา แขมมณี. (2544). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : CIPPA MODEL. วารสารครุศาสตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 30(4), 5.

นงลักษณ์ วิรัชชัย, และสุวิมล ว่องวาณิช. (2541). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วย การวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

นงนารถ ร่มเย็น. (2561). ผลสัมฤทธิ์และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 10(1), 81-95.

นัฐยา ทองจันทร์. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(1), 1-14.

ปริชมน กาลพัฒน์. (2554). การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานBrain based learning. เชียงใหม่: ข่าวสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปวีณา วิชนี. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง อาณาจักรของสิ่งมีชีวิตด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ร่วมกับการใช้เทคนิคเกม สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2), 450-463.

ไพโรจน์ คะเชนทร์. (2556). การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://supapornouinong.blogspot.com/2018 /04/blog-post_25.html [สืบค้น 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562].

วัชรภัทร เกตวงษา. (2560). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับวิธีจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น : การวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาสาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วทัญญู บัวทอง. (2548). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการ

สภาการศึกษา กระทรวงศึกษา. (2552). รายงานสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย : วิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อณานิการ์ บุญเจียม. (2560). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับวิธีจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ ระหว่างพุทธศักราช 2550-2555 ด้วยการวิเคราะห์อภิมาน. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(1), 278-290

อารี พันธ์มณี. (2545). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. ใยไหม กรุงเทพฯ.

E.P. Torrance. (1962). Guilding Creative Talent. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice Hall.

Glass, G. V. (1976). Primary, secondary, and meta-analysis of research. Educational Researcher, 5(10), 3-8.

Guilford, J.P. 1967. The Nature of Human Intelligence. McGraw-Hill: Book Company.

M.J. Moravesik. (1981). Creative Teaching of Science in the Elementary school. boston: Allyn and Bacon.