การพัฒนาความสามารถด้านการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการเล่าเรื่องของนักเรียนชั้นอนุบาล 3

Main Article Content

หนึ่งฤทัย พาภักดี
ไพทยา มีสัตย์
อัญชลี ทองเอม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาไทยของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการเล่าเรื่อง ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังเพื่อความเข้าใจในภาษาไทยของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 กับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านการฟังของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการเล่าเรื่อง กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นอนุบาล 3/4 โรงเรียนเด่นหล้าพระราม 5 จังหวัดนนทบุรี มีนักเรียนจำนวน 21 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการฟังเพื่อความเข้าใจ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาไทย 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test for dependent samples และ t-test for One sample


ผลการวิจัยพบว่า


1) ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาไทยของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการเล่าเรื่อง ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (sig.=.000, t=14.645*)


2) ความสามารถด้านการฟังเพื่อความเข้าใจในภาษาไทยของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (sig.=.000, t=6.96*)


3) ผลการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ พบว่า พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านการฟังเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการเล่าเรื่อง ภาพโดยรวมอยู่ระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 2.73, S.D.= 0.30)
       

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กมลรัตน์ พ่วงศิริ. (2561). การพัฒนาทักษะความสามารถของทักษะการฟังและการพูดโดยการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการ เล่านิทาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

กอบกมล ทบบัณฑิต. (2548). การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน – เบสบุคส์.

ชิตาพร เอี่ยมสะอาด. (2548). เด็กปฐมวัยกับทักษะทางภาษา. สุราษฎร์ธานี: ม.ป.พ.

ทิติลดา พิไลกุล. (2551). ผลการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยวิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นฤมล เนียมหอม. (2559). การสอนภาษาแบบธรรมชาติ. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.nareumon.com. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562].

นิตยา ประพฤติกิจ. (2556). การพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พราวพรรณ เหลืองสุวรรณ. (2556). ปฐมวัยศึกษากิจกรรมและสื่อการสอนเพื่อฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

พัณณ์ชิตา สิรภัทรศรีเสมอ. (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบภาพที่มีต่อการรับรู้ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

ยินดี รามทอง. (2550). ผลการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการสอนภาษาแบบองค์รวมโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ฤทัยรัตน์ ปานจินทร์. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนถาวรานุกูล จังหวัดสมุทรสงคราม. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รสสุคนธ์ แนวบุตร. (2557). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รอฮันนี เจะเลาะ. (2561). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่ใช้นิทานประกอบภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

โรงเรียนเด่นหล้าพระราม 5. (2563). รายงานผลประเมินพัฒนาการทางด้านภาษาด้านการฟังของนักเรียน ชั้นอนุบาล 3. นนทบุรี: ม.ป.พ.

สมศักดิ์ ปริบุรณะ. (2552). นิทานสำหรับเด็ก. ราชบุรี: สถาบันราชภัฏราชบุรี.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุวรรณา กิจติยา. (2558). ผลการจัดประสบการณ์การเล่านิทานที่มีต่อความสามารถทางภาษา ด้านการฟัง และการพูดของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลัสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อารีย์ คําสังฆะ. (2554). การส่งเสริมความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม.“เล่นกับลูกปลูกภาษา”. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อุบล เวียงสมุทร. (2540). รายการวิจัยเรื่องความพร้อมทางภาษาของเด็กปฐมวัย. วารสารการศึกษาปฐมวัย,1(2), 64-65. Bloom, B. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York : McGraw-Hill Book Company

Guleca. S & Durmus, N. (2015). A Study Aiming to Develop Listening Skills of Elementary second Grade Students. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 191, 103-109.

Gunning, T. G. (2003). Creating literacy instruction for all children. (4thed.).New Jersey: Pearson.

Machado, J. M. (2012). Early childhood experience in language art: Early Literacy. (10thed.). California: Wadsworth cengage learning.

Malkina, N. (1995). Story telling in Early Language Teaching. Russia. [online] Available form www//exchange.stage.gov/forum/vols/ vol00/no1/P38.htm. [accessed October 13, 2020]

Meesat, P. (2015). Somatically-enhanced approach (SEA) in intensive Thai course for academ ic purposes. An Unpublished Ph.D. Thesis of the University of Canberra, Australia.

Piaget, J. (1966). The psychology of intelligence (M. Pierce & D. Berlyne, Trans.).NJ: Littlefield, Adams&CO. (Original work published 19

Rothlein, L., & Meinbach, A. M. (1997). Legacies: using children’s literature in the classroom. (2nded.).New York: Harper Collins.

Sandall, N, Schramm, K. & Seibert, A. (2003). Improving Listening Skills through the Use of Children’s Literature. An Action Research Project Submitted to the Graduate Faculty of the School of Education, Master of Arts in Teaching and Leadership, Saint Xavier University, Chicago, Illinois.

Tanni, Z. & Mahmoud Raba, A. (2015). Storytelling as an Aid in Promoting Oral Proficiency of Grade Eleven Students From Teachers’ Perspectives in Tulkarm District. US-China Foreign Language, October 2015 13 (10) , 710-722.

Tomlinson, C. M. & Lynch-Brown, C. (1996). Essentials of children’s literature. (2nd ed.), Boston : Allyn and Bacon.