การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงในสถานศึกษาอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการจำเป็นทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 2) แนวทางการพัฒนาทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ธุรกิจระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก ทำการสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งประชากรออกตามจังหวัดซึ่งได้มาโดย การสุ่มแบบกลุ่ม ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว รวมจำนวนสถานศึกษา 84 แห่ง จำนวนนักศึกษา 6,452 คน ได้กลุ่มตัวอย่างตามตารางเท่ากับ 363 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินโดยผู้เรียนเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ และรูปแบบการตอบสนองเป็นแบบรายคู่ (Dual–response Format) เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างสภาพที่เป็นอยู่กับสภาพที่ควรจะเป็นในประเด็นต่าง ๆ สถิติที่ใช้ในการในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัย โดยใช้การวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้วย วิธี Modified Priority Needs Index (PNI Modified) และแบบสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน และผู้บริหารสถานศึกษา แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview Protocol) เป็นแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด รวม 5 คน โดยการเลือก แบบเจาะจง
ผลการวิจัย พบว่า
1. ในการวิจัยเชิงปริมาณ ความต้องการจำเป็นของนักศึกษาอันดับ 1 คือ ทักษะการใช้งานอินเทอร์เน็ต (PNI Modified = -0.139) อันดับที่ 2 คือ ทักษะการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ (PNI Modified = -0.148) และ อันดับที่ 3 คือ ทักษะการใช้โปรแกรมประมวลคำ ตามลำดับ
2. ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ความเห็นของอาจารย์ผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา มีความเห็นที่สอดคล้อง กับผลการวิจัยเชิงสถิติในการวิจัยเชิงปริมาณ และตอบโจทย์แนวทางในการพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร โดยมีความเห็นว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา พร้อมด้วยอาจารย์ผู้สอน จำเป็นต้องมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ใน บริบทการสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต 2) สถานศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพทั้งในด้านองค์ความรู้ และทรัพยากร เพื่อบูรณาการสู่การเรียนรู้ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นสำคัญ 3) ผู้เรียนมีความจำเป็นต้องเข้าใจ เข้าถึง และรู้จักการพัฒนาต่อยอด ตลอดจนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้เกิดเป็นทักษะที่สำคัญจากการศึกษา และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ต่อไปเพื่อการศึกษาต่อ หรือการประกอบอาชีพเป็นสำคัญ
Downloads
Article Details
References
กนกวรรณ สุภาราญ. (2020, May 20). ทักษะทางการวิจัย และค้นคว้าข้อมูล ทักษะจำเป็นในการเรียนรู้ออนไลน์ของนักเรียน. https://www.educathai.com/knowledge/articles/365
กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (23 ม.ค. 2560 ร่างแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2564. http://dcy.go.th/webnew /main/news_view.php?id=1492&type=12
ข่าวประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2557, มกราคม ). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. http://www.qa.kmutnb.ac.th/qa_news/2557/QANEWS304_25570115.pdf
ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
นฤมล เพ็ชรสุวรรณ และ รุจิร์ ภู่สาระ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ. EAU Heritage Journal: Social Science and Humanities, 5(3), 65-76.
ประพนธ์ สหพัฒนา. (2559). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. (2551, 5 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. (เล่มที่ 125 ตอนที่ 43 ก: 1-24).
พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562. (2562, 3 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. (เล่มที่ 136 ตอนที่ 57 ก: 8-41).
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21(พิมพ์ครั้งที่ 2). โอเพ่นเวิลต์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์.
วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น.
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (ม.ป.ป.). มาตรฐานสมรรถนะ สาขาผู้ใช้ไอที (Digital Literacy). มาตรฐานสมรรถนะ: Competency Standard. http://www.hcbi.org/RTE/my_ documents/my_files /Competency_ Standard_DL.pdf
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิช. (2556). ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ). สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
เสถียร คามีศักดิ์. (2553). การเขียนคู่มือปฏิบัติงาน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.
กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2552. กระทรวงศึกษาธิการ.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไอลดา อรุณศรี, สมาน ลอยฟ้าและชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ. (2557). การจัดการเรียนการสอนการรู้สารสนเทศสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(1), 248-259.
Krejcie, R. V., & Morgan D.W.,. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.
Kvale, S. (1996). Interviews: An Introduction to Qualitative Research Interviewing. Thousand: Oaks. Partnership for 21st Century Skills. (n.d.). P21 Framework Definitions. https://files.eric.ed .gov/fulltext/ED519462.pdf.
Web Research Skills:Teaching Students Fundamental Web Research Skills: Resilient Educator. (n.d.).Resilient Educator https://resilienteducator.com/classroom-resources/research-skills-teaching-your-students-the-fundamentals/