โมเดลการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างทักษะด้านคนและสังคม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

สุขมิตร กอมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะด้านคนและสังคม (Soft Skills) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา 2) ออกแบบและพัฒนาโมเดลการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างทักษะด้านคนและสังคมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา 3) ศึกษาผลการใช้โมเดลการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างทักษะด้านคนและสังคมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะด้านคนและสังคม กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 379 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 ออกแบบและพัฒนาโมเดล แหล่งข้อมูลคือกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินโมเดล ระยะที่ 3 การใช้โมเดล กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินทักษะด้านคนและสังคม การคิดอย่างเป็นระบบ ทักษะการสื่อสาร ความสามารถในการปรับตัว และ การทำงานร่วมกับผู้อื่น


ผลการวิจัยพบว่า


1.ค่าเฉลี่ยความต้องการจำเป็นทักษะด้านคนและสังคม สภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบันและสภาพที่ต้องการพัฒนามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็น (PNIModified) อยู่ระหว่างร้อยละ14 ถึงร้อยละ 39 โดยมีทักษะด้านคนและสังคมมีความสำคัญเป็นลำดับที่ 1 คือ การคิดอย่างเป็นระบบ ลำดับที่ 2 คือทักษะการสื่อสาร, ความสามารถในการปรับตัว และลำดับที่ 3 คือการทำงานร่วมกับผู้อื่น


2. โมเดลการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างทักษะด้านคนและสังคมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา ประกอบด้วย บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลลัพธ์ และผลย้อนกลับ


3.หลังจากใช้โมเดล (1) ผู้เรียนมีทักษะด้านคนและสังคม (Soft Skills) ด้านการคิดอย่างเป็นระบบโดยรวมอยู่ในระดับดี (2) คะแนนทักษะด้านคนและสังคม (Soft Skills) ด้านทักษะการสื่อสารหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ผู้เรียนมีทักษะด้านคนและสังคม (Soft Skills) ด้านความสามารถในการปรับตัวโดยรวมอยู่ในระดับดี (4) คะแนนทักษะด้านคนและสังคม (Soft Skills) ด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.(2559). คนเก่งสร้างได้อารยโมเดลสมรรถนะKSL31220. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย

-------.(2561). คิดเป็นระบบ: Systematize Thinking. กรุงเทพฯ : ซัคเซสพับลิชซิ่ง.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และเชาวเลิศ เลิศชโลฬาร.(2536). “ระบบและการจัดระบบ,” ใน ประมวลสาระชุดวิชาการจัดระบบทางการศึกษา หน่วยที่ 1.หน้า 1-62.นนทบุรี : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น

ประเวศ วะสี. (2553). ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน. นครปฐม : เอส พี เอ็น การพิมพ์

ปรีดา เรืองวิชาธร.(2551). “การเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงหลากหลายมิติ,” ในหนังสือรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปี2551 เรื่อง จิตตปัญญาศึกษา:การศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์, นครปฐม : โครงการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, 69-194.

วิจารณ์ พานิช. (2558). เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : บริษัทเอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด

วิทยากร เชียงกูล. (2562). เป้าหมายการศึกษาควรมากกว่าเพื่อการทำมาหากิน. [ออนไลน์] ได้จาก http:// bankokbiznews.com [สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2563]

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.(2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนานิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษมาตรฐานการศึกษาสู่การยกระดับคุณภาพคนไทย 4.0. กรุงเทพฯ : 21เซ็นจูรี่.

อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา. (2555). การพัฒนาพนักงาน. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (13),149.

Anderson, V., & Johnson, L. (1997). Systems Thinking Basics. From Concepts to Causal Loops. Waltham, Mass: Pegasus Comm., Inc.

Mezirow, J. (1991). Transformative Dimensions of Adult Learning, Jossey Bass Publisher: San Francisco.

--------. (2003). Transformative Learning as discourse. Journal of Transformative Education,1(1), 58-63. McIntyre, R. M. & Salas, E. (1995). Measuring and managing team performance: Emerging principles from complex environments. In R. Guzzo & E. Salas (Eds). Team effectiveness and decision making in organizations. San Francisco, CA: Jossey-Bass.