การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

อัจฉริยา คำมนตรี
ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ความมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้แก่ 2.1 เปรียบเทียบความสามารถ ในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์หลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 2.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัด การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร 1 ห้องเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสังเกตการณ์จัดการเรียน การสอนของครูผู้สอนรายวิชาฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) แบบสัมภาษณ์ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ กำหนดปัญหา ทำความเข้าใจกับปัญหา ดำเนินการศึกษาค้นคว้า สังเคราะห์ความรู้ สรุปและประเมินค่าของคำตอบ นำเสนอและประเมินผลงาน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.66/75.28


2. ผลการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีดังนี้ 2.1 นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาค่าเฉลี่ยเท่ากับ 69.13 คิดเป็นร้อยละ 76.81 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2.2 นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 22.58 คิดเป็นร้อยละ 75.28 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด


โดยสรุปการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก สามารถพัฒนาความสามารถในการ แก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างได้ ครูผู้สอนจึงสามารถนำการจัด การเรียนรู้ดังกล่าว ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนให้ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้นไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กลุ่มงานสารสนเทศและเทคโนโลยีการทดสอบ. (2561). รายงานค่าสถิติพื้นฐานการทดสอบวิชาสามัญ 9 วิชา เพื่อรองรับการรับตรงร่วมกัน ปีการศึกษา 2561, [ออนไลน์] ได้จาก http://www.admission premium.com/uploads/contents/ 2018041072436.pdf. . [สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2562]

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรูที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 6).นนทบุรี : พีบาลานซ์ดีไซด์

แอนปริ้นติ้ง.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

-------. (2558). ถอดรหัสปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การสอนกระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

-------. (2559). ศาสตร์การสอน พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนีนาฎ ณ สุนทร. (2560). ความเป็นครูและการพัฒนาครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เทคนิคพริ้นติ้ง.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2557). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์.

มยุรี เทพถิล. (2561) การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร. (2562). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประจำปี 2562 รายวิชาฟิสิกส์. มหาสารคาม : โรงเรียนมหาชัยพิทยาคม อำเภอท่าสองคอน. (ไม่ได้ตีพิมพ์).

ลำไพ กวีกรณ์. (2556) การพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง แรง มวลและกฎการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด พิมพ์ครั้งที่ 10.นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

สินธะวา คามดิษฐ. (2560). ความเป็นครูและการพัฒนาครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Rojas, S. (2010). On the Teaching and Learning of Physics Problem Solving. Rev. Mex. F’ IS. 56(1), 22-28.

Torp, L. and S. Sage. (1998). Problem as Possibilities. Virginia : Association for Supervision and Curriculum Development.