การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ความน่าจะเป็น ระหว่างการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนป่าติ้ววิทยา อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 64 คน จาก 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชนิดละ 12 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวมเวลา 12 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เป็นแบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.47 – 0.72 มีอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.31 – 0.75 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ ( rcc) เท่ากับ 0.89 (3) แบบทดสอบการคิดแก้ปัญหา แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.47 – 0.75
มีอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.25 – 0.63 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ ( rcc) เท่ากับ 0.76 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t - test (Dependent Samples) และ Hotelling T2
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.85/81.88 และ 82.65/76.15 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.6974 และ 0.6221 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 69.74 และ 62.21 ตามลำดับ
3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาสูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
โดยสรุป การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น รูจักคิดวิเคราะห์ แยกแยะหาความสัมพันธ์ มีลำดับขั้นตอนการคิดอย่างเป็นระบบ และส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา ซึ่งจะส่งผลให้เป็นนักแก้ปัญหาที่ดี ดังนั้นครูคณิตศาสตร์ควรนำการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL ใช้สอนเพื่อให้นักเรียนบรรลุตามจุดประสงค์ของรายวิชาต่อไป
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). สํานักงานคณะ
ศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแหงประเทศไทย จํากัด.
---------. (2551ก). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน 2551.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์เพื่อการเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์.(2558) ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 7 นนทบุรี : พีบาลาซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง
ซัฟฟียะห์ สาและ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความ
สามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.วิทยานิพนธ์ วท.ม. คณิตศาสตร์ศึกษา.: มหาวิทยาลัยบูรพา.
นัฐฐนิภา ประทุมชาติ. (2560) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับ
เทคนิค KWDL เรื่องเศษส่วนและการประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ วท.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิตยา ภูสำเภา. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ความสามารถใน
การคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWDL และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2551). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. มหาสารคาม :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ผ่องนภา ใจทา. (2558) .การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค KWDL.
วิทยานิพนธ์ ค.ม.ราชภัฏมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พรรณพิลาส พลเสน. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การให้เหตุผล เรื่อง ความน่าจะเป็นและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWDL และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TAI ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.
วิทยานิพนธ์ กศ.ม.: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รุ่งนภา กลิ่นกลาง. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือร่วมกับทักษะปฏิบัติและการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2554).เทคนิคและยุทะวิธีพัฒนาการคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). ระบบประกาศและรายงานผลสอบโอเน็ต ปีการศึกษา 2560. [ออนไลน์] ได้จาก
http://www.newonetresult.niets.or.th [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2563]
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น.
สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)
สุคนธ์ สินธพานนท์.(2556) การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่ สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
เสาดะห์ ขุนหลำ. (2561) ผลการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนดารุลอูลูม จังหวัดสตูลระหว่างการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะกับการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์
กศ.ม. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สงขลา,
Ogle, D. K- W-L: A (1986.) Teaching Model That Develops Active Reading of Expository Text. Reading Teacher,
, 564 –570,
Omar Salim Muhammad Al-Khateeb. (2010). “The Impact of Using KWL Strategy on Grade Ten Female
Students’ Reading Comprehension of Religious Concepts in Ma’an City European,” Journal of Social
Sciences. 12 (3) : 471-489
Shaw, Jean M and others.(1997). “Cooperative Problem Solving : Using K-W-D-L as an Organizational
Technique,” Teaching Children Mathematic. 3(9) :482-486