การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือโดยใช้ชุดฝึกทักษะ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ร่วมกับเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง เรื่อง เอเชีย ออสเตรเลียและโอเชียเนีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

กฤตยาภรณ์ วงศ์เพิ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือโดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางภูมิศาสตร์ร่วมกับเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง เรื่อง เอเชีย ออสเตรเลียและโอเชียเนียชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) เพื่อประเมินทักษะทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดศรีดอนไชย สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ จำนวน 18 แผน ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางภูมิศาสตร์ร่วมกับเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ จำนวน 6 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84 แบบประเมินทักษะทางภูมิศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.88 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ เท่ากับ 82.14/80.58 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6104 หรือมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 61.04 นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีทักษะทางภูมิศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คมกริช พะเลียง, ธัชชัย จิตรนันท์. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องภูมิศาสตร์

ทวีปอเมริกาเหนือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชิดชนก วันทวี. (2557). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1ด้วยวิธีสอนแบบ

โครงงาน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนา หลักสูตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ณัฐกมล วัชรวงษ์ทวี. (2556). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปยุโรป สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา

ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ตวงแสง ณ นคร. (2555). การใช้สื่อการสอน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรินทร์ วงค์คำจันทร์. (2558). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning.วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดศรีดอนไชย. (2560). รายงานการประชุมสะท้อนปัญหาทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา

ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. เชียงใหม่ : สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 254). เทคนิคการสร้างและสอบข้อสอบความถนัดทางการเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ :

ชมรมเด็ก.

วงเดือน วงชารี. (2557). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการปฏิบัติ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน

เรื่อง การจัดดอกไม้สด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วินัยธร วิชัยดิษฐ์ และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2556) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาภูมิศาสตร์ที่ส่งเสริมคุณลักษณะ

อันพึงประสงค์ของนักศึกษาครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(2) 167-180

วิลาวัลย์ ภูศรีดาว. (2551). ผลการพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสือนิทานประกอบภาพการ์ตูนเรื่อง ความกตัญญู

กตเวทีกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. มหาสารคาม : วิทยานิพนธ์ การศึกษา

มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศรารัตน์ มุลอามาตย์. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติทางวิทยาศาสตร์. ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการจัดการเรียนรู้เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต ุ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษการคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ :

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

Johnson, D. W., et al. (1994). Active learning: Cooperation in the college classroom. Edina, MN: In teraction Book

Company.

Slavin, Robert E. 1990. Cooperative Learning : Theory, Research and Practice. New. Jersey : Prentice – Hall.