ผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนของ โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ฐิติพร รุ่งเช้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 2) สร้างรูปแบบการพัฒนา แหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนของโรงเรียนเทศบาล๓ (บ้านบ่อ) สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และ 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนของโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรีประชากรของการวิจัยในครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 1,038 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 4 คน ข้าราชการครู 9 คน นักเรียน จำนวน 350 คน กรรมการสถานศึกษา 9 คน และผู้ปกครอง นักเรียน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


1. สภาพปัจจุบันมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนของโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากและความต้องการของชุมชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากการวิเคราะห์ผลต่าง ระหว่างสภาพปัจจุบันกับความต้องการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ มีค่าผลต่างมากอันดับหนึ่ง ได้แก่ ความต้องการร่วมนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา ซึ่งชุมชนมีความต้องการที่จะมีส่วนร่วมมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และมีข้อเสนอแนะ อยากจะให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษากับในสถานศึกษา


2. รูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนของโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กลไกการดำเนินงาน วิธีการดำเนินงาน ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 2 องค์ประกอบคือ 1) การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม 6 ขั้นตอน 2) การดำเนินงานจัดกิจกรรมการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม 16 กิจกรรม และเงื่อนไขความสำเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด


3. ผลการนำเสนอรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนของโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรีต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา จำนวน 42 คน พบว่ามีความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article