การพัฒนารูปแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย เกี่ยวกับ การฟัง พูดอ่าน เขียน วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ศิราณี สนั่นเอื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการปฏิบัติและความต้องการชุดกิจกรรมเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะพิสัยเกี่ยวกับ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  2) พัฒนารูปแบบชุดกิจกรรมเรียนรูเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านทักษะพิสัยเกี่ยวกับการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทย ของนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบชุดกิจกรรมเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านทักษะพิสัยเกี่ยวกับ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยของนักเรียน ดังนี้ 3.1) ศึกษาความสามารถด้านการฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาไทยของนักเรียนที่เรียนรู้ตามรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ 3.2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาไทยของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการเรียนรู้ตามรูปแบบฯ และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้และความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยเกี่ยวกับ การฟัง พูด อ่าน เขียน วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนเทศบาลวัดเหนือสังกัดสำ นักการศึกษาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำ นวน 1 ห้อง มีนักเรียนจำ นวน 57 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบทดสอบความรู้พื้นฐานภาษาไทยของนักเรียน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนและการใช้ทักษะพิสัยเกี่ยวกับ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทย 5) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group) 6) คู่มือการใช้รูปแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ 7) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย จำ นวน
24 แผน รวมเวลา 24 ชั่วโมง และ 8) แบบทดสอบวัดทักษะพิสัยเกี่ยวกับ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทย จำ นวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติ t-test (Dependent Samples) และ t-test (Independent Samples)


ผลการวิจัยพบว่า


1. ผลการศึกษาสภาพการปฏิบัติและความต้องการในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยเกี่ยวกับการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า สภาพการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยของครูผู้สอนยังไม่ได้เน้นให้ความสำคัญในการเสริมสร้างทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาไทยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จ และสามารถสื่อสาร ผ่าน การฟังและการพูดในสถานการณ์จริงเท่าที่ควร อีกทั้งยังไม่มีการจัดการเรียนรู้ในบริบทการฝึกปฏิบัติเสริมสร้างการฟังและการพูดในชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลในการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นเงื่อนไขความต้องการที่จะพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยสำ หรับนักเรียนให้ประสบผลสำ เร็จยิ่งขึ้น


2. ผลการพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยของนักเรียน พบว่า แนวคิดทฤษฎีที่นำ มาใช้ สนับสนุนการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) ทฤษฎีการสร้างความรู้ 2) ทฤษฎีแรงจูงใจ 3) ทักษะพิสัย 4) แนวคิดทฤษฎีประมวลสารสนเทศ และ 5) แนวคิดการเรียนรู้เน้นภาระงานเป็นฐาน โดยนำ มาสังเคราะห์ประกอบการสร้างรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ และมีองค์ประกอบของรูปแบบ ได้แก่ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) หลักการตอบสนอง 5) ระบบสนับสนุน และ 6) การวัดและประเมินผล และรูปแบบมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ได้แก่ 1) การกระตุ้นความสนใจ 2) การแนะนำ เนื้อหา 3) การฝึกปฏิบัติ 4) การนำ เสนอผลการปฏิบัติ และ 5) การสรุปและประเมินรวมทั้งปรากฏผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ของการวิเคราะห์ จากคะแนนประเมินทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนของนักเรียนเท่ากับ 72.27/71.84 


3. ผลการนำ รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยของนักเรียนไปใช้ พบว่า 3.1) ความสามารถด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ51.31, 61.90, 68.85 และ 77.66 ตามลำดับ 3.2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบมีคะแนนการฟัง พูด อ่าน และเขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


4. ผลการประเมินการใช้และความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยเกี่ยวกับ การฟัง พูด อ่าน เขียน วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ดีมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article