การพัฒนารูปแบบประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามแนวคิดสมองเป็นฐานสำหรับชั้นอนุบาล โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

Main Article Content

ชญานิศา ประชาโชติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน สำหรับชั้นอนุบาล โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด โดยการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) ใน 4ขั้นตอน ได้แก่ขั้นที่1ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนิยาม ความสามารถพฤติกรรมบ่งชี้และแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน สำหรับชั้นอนุบาลขั้นที่2 พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน สำหรับชั้นอนุบาล เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดโครงสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์และเครื่องมือประกอบการใช้จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทำการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นทำการศึกษานำร่องถึงความเป็นไปได้ของรูปแบบประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานก่อนนำไปใช้ทดสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ขั้นที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน สำหรับชั้นอนุบาล โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกำหนดกลุ่มควบคุม โดยมีการทดสอบก่อนและหลังการใช้รูปแบบประสบการณ์อย่างต่อเนื่องตามเวลาที่กำหนด(Control Group Interrupted TimeSeries Design)กลุ่มตัวอย่าง
เป็นครูอนุบาลจำนวน 3 คน และเด็กอนุบาล จำนวน 74 คน ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ระยะเวลา 12 สัปดาห์และขั้นที่ 4 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน สำหรับชั้นอนุบาล โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย1) เครื่องมือการจัดประสบการณ์ได้แก่
รูปแบบประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน และ 2) เครื่องมือการประเมิน โดยแบ่ง
เป็นของครูซึ่งได้แก่ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจของครูอนุบาลเกี่ยวกับรูปแบบประสบการณ์แบบประเมินความ
สามารถในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์และแบบประเมินความสามารถในการจัดประสบการณ์ส่วนของเด็กอนุบาล
ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถ แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบประเมินผลงานความสามารถในการแก้ปัญหาอย่าง
สร้างสรรค์ของเด็กอนุบาลผลการวิจัยพบว่า
1. เด็กอนุบาลที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามแนวคิด
สมองเป็นฐาน สำหรับชั้นอนุบาล มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อน
การจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. เด็กอนุบาลที่ได้รับการจักประสบการณ์ตามรูปแบบประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามแนวคิด
สมองเป็นฐาน สำหรับชั้นอนุบาล มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าเด็ก
อนุบาลที่ไม่ได้รับการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. เด็กอนุบาลที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามแนวคิด
สมองเป็นฐาน สำหรับชั้นอนุบาล มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์4ระยะคือก่อนการจัดประสบการณ์
หลังการจัดประสบการณ์ครั้งที่1 หลังการจัดประสบการณ์ครั้งที่2 และติดตามผลการจัดประสบการณ์มีพัฒนาการสูง
ขึ้นเป็นลำดับ และมีความคงทนของพฤติกรรมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ในระยะติดตามผลการจัด
ประสบการณ์และพบว่า เด็กอนุบาลเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ความมีเหตุผล ในการนำความรู้ทักษะ และ
ประสบการณ์ตามระดับพัฒนาการมาใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
4. ครูอนุบาลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบประสบการณ์อยู่ในระดับดีมาก มีความสามารถในการเขียน
แผนการจัดประสบการณ์และมีความสามารถในการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบประสบการณ์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นอยู่ใน
ระดับมาก และมีความคิดเห็นต่อรูปแบบประสบการณ์ว่ามีความเหมาะสม และอยู่ในระดับมาก เนื่องจากเป็นรูปแบบ
ประสบการณ์ที่มีกระบวนการจัดประสบการณ์สภาพแวดล้อม และการประเมินที่ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ตามสภาพ
จริง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส�าหรับเด็กปฐมวัย อายุ 35 ปี ตามสมรรถนะของเด็ก ปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

คริสติน วาร์ด, (2549). คู่มือครูสำหรับเสริมสร้างสมองของเด็กวัยเรียน กรุงเทพฯ : พิมพ์พินิจ.

______. (2549). คู่มือสำหรับเสริมสร้างสมองของเด็กวัยเรียนระดับประถมศึกษา-อุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: แฮบปี้แฟมิลี่

นิตยา คชภักดี, (2543). ขั้นตอนการพัฒนาของเด็กอนุบาล ตั้งแต่ปฏิสนธิ- 5 ปี. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

พรรณี ช. เจนจิต. (2545). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : เมธีทิปส์.

สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย. (2548). รายงานการวิจัย เรื่อง การติดตามและประเมินผลการปฏิรูป การศึกษาตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2533). คู่มือประเมินพัฒนาการเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 1. กรุงเทพฯ: ศรีเมือง การพิมพ์.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. (2552). รายงานความก้าวหน้าการจัดการเรียนรู้ระดับอนุบาล ปี 2551-2552. กรุงเทพฯ : เพลิน สตูดิโอ.

Osborn, A.F. (1963). Creative Imagination. 3rd ed. New York: Charles Scribers Sons.

Treffinger,D.J. (1995). “Creative Problem Solving: Overview of Educational Implications.” Educational Psychology Review 7,3 : 301-312.เอกสารอ้างอิง ณัฐชนน ศรีวรมย์ : ผู้ออกแบบจัดหน้าบทความ