การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนอนุบาลปีที่ 3

Main Article Content

จุฬา คชเดช

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนอนุบาลปีที่ 3/2 ในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2560 จeนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม นักเรียนแต่ละห้องคละตามความสามารถ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จeนวน 14 แผน 2) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จeนวน 14 ชุด และ 3) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ลักษณะเป็นแบบประเมินชนิดรูปภาพแบบปรนัยเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จeนวน 4 ชุด ๆ ละ 5 ข้อ รวมทั้งหมด 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การทดสอบวิลคอกซัน (The Wilcoxon Matched Pairs SignedRanks Test)


ผลการศึกษาพบว่า


1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพ 82.56/81.95 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80


2. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ .6073แสดงว่านักเรียนพัฒนาการเพิ่มขึ้น .6073 หรือคิดเป็นร้อยละ 60.73


3. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานหลังจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสeคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ.(2547). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำาหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ :เอดิสันเพรสโปรดักส์.

จุฑาพร โคตรสีเมือง. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่องเครื่องกลอย่างง่ายเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านโนนปอแดง จังหวัดเลย.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชม ภูมิภาค. (2528). เทคโนโลยีทางการสอนและการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2548). เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

นฤมล คุณแก้ว (2559). การพัฒนาการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำาหรับเด็กปฐมวัย. หนองบัวลำาภู: สำานักงานเขตพื้นที่ศึกษาประถม ศึกษาหนองบัวลำาภู เขต 2.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยสำาหรับครู.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2546). ของเล่นกับเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วารสารวิชาการ.6(3) : 70 -72.

________. (2546).การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วารสารการศึกษาปฐมวัย.7(3) : 23 - 25.

พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2551). การเรียนแบบรอบรู้ (Mastery Learning). วารสารศึกษาศาสตร์,19(1), 17-30.

ภูริชญา จันทร์เปรียง. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโพธิ์น้อย เทศบาลตำบลกระหวัน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ.สารนิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แม็ค. โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม. (2558). สมุดบันทึกพัฒนาการเด็กนักเรียน ระดับปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558. ระยอง : ม.ป.ท.

วีระยุทธ วิเชียรโชติ. (2544). จิตวิทยาการเรียนการสอนแบบสืบสวนสอบสวน.กรุงเทพฯ :อำนวยการพิมพ์.สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2544).แนวการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ. กรุงเทพฯ : การศาสนา.

อัญชลี รังสีทอง. (2556). การจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด แก้ปัญหาสำหรับเด็กปฐมวัย. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อารี ภู่สุวรรณ. (2541). แนวการสอนเพื่อพัฒนาความคิด สารพัฒนาหลักสูตร.14 (21) : 7– 8.