การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

อภิสิทธิ์ เวชเตง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสมเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน


ผลการวิจัยพบว่า


1. รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้น (SDASP Model) คือ ขั้นที่ 1 เชื่อมโยงและระบุปัญหาขั้นที่ 2 กำหนดกรอบแนวทางการศึกษาปัญหาขั้นที่ 3 ดำเนินการศึกษาค้นคว้าขั้นที่ 4 สรุปและประเมินค่าของคำตอบและขั้นที่ 5 นำเสนอและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้


2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า (1) นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 86.21 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 75ขึ้นไป (2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับ มาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ องค์การ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

_______. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

กัญญาวีร์ ชายเรียน. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กาญจนา คุณารักษ์. (2553). การออกแบบการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนที่พึงประสงค์. กรุงเทพฯ: วี ที ซี คอมมิวนิเคชั่น.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2548). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 9. มหาสารคาม: ภาควิชาเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

เพ็นนี บุญอาษา (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผสมผสานกลวิธีเมตาคอกนิชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

มัณฑรา ธรรมบุศย์ . (2549). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL. วารสารวิทยาจารย์. 105 (มกราคม),43-45

โรงเรียนเทศบาลจุ่งฮั่ว. (2558). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2557. พัทลุง:โรงเรียน เทศบาลจุ่งฮั่ว.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิคการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

_______. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.