การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2

Main Article Content

สมคิด ยีละงู

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง และ3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กชั้นอนุบาล ชั้นปีที่ 2/7 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองสตูล ซึ่งได้มาโดยการการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 32 แผน 2) ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง จำนวน 8 ชุด และ 3) แบบประเมินพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง จำนวน4 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples) และค่าดัชนีประสิทธิผล


ผลการศึกษาพบว่า


1. ประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.61/84.25 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80


2. พัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง มีค่าเท่ากับ 0.6577 แสดงว่า จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลงเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความก้าวหน้าการคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น 0.6577 หรือคิดเป็นร้อยละ 65.77

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กาญจนา ชูเกิด. (2559). การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง. ตรัง : โรงเรียนบ้านควนยาง.

จุฑารัตน์ หลีสวัสดิ์. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหว และจังหวะประกอบสื่อธรรมชาติ. ลําปาง : โรงเรียนบ้านทุ่งคา.

นงค์นุช พรรณฑูล. (2554). ผลการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่เน้นท่าฤๅษีดัดตนเชิงประยุกต์ เพื่อพัฒนาการ ทางร่ายกายของเด็กปฐมวัย.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นริสา ปั้นคุ้ม. (2560). รายงานผลการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ. สงขลา : โรงเรียนบ้านหัวเขา.

นารีวรรณ ปิตุภูมินาค. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1รายวิชางานเกษตร ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการกลุ่ม. ขอนแก่น: โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองใหญ่

พรพิมล เวสสวัสดิ์. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใช้แนวคิดการเต้นเชิงสร้างสรรค์ ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอนุบาล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.[ออนไลน์]. ได้จาก http:// www.ratchakitcha.soc.go.th [วันที่สืบค้นข้อมูล 20 เมษายน 2560].

วราภรณ์ มะลิรัตน์. (2554). ผลของการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐานแบบกลุ่ม ที่มีต่อทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาก่รศึกษาปฐมวัย กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรรณวิสาข์ ทองคําแก้ว. (2560). การพัฒนากิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นกลุ่มเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านเขานาใน. สุราษฎร์ธานี : โรงเรียนบ้านเขานาใน.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2555). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.

สาปียะห์ เหร่าหมัด. (2560). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบสื่อ. นราธิวาส : โรงเรียนบ้านลาไม.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชติ สํานักนายกรัฐมนตรี.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579.กรุงเทพฯ : พริกหวาน

กราฟฟิค จํากัด.

สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 สำหรับเด็กอนุบาล 3-5 ปี.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สุทธิรัตน์ เพชรทิม. (2552). การศึกษาความสามารถในการพูดของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง โดยใช้กิจกรรมเพลง. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Torrance, EP. (1972). Can we teach children to think creativity?. Journal of creative behavior. Vo. 6.