การพัฒนาทักษะการเขียนสื่อสารโดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้ แบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ศิริพันธ์ เวชเตง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) พัฒนาทักษะการเขียนสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีคะแนนตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป 3) เปรียบเทียบทักษะการเขียนสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 1 หลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเทศบาลวัดภูผาภิมุข สังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ภาคเรียนที่ 2 ปกีารศึกษา 2559 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการเขียนสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 ชุด มีคุณภาพค่าเฉลี่ยเท่ากับ        (gif.latex?\bar{x}=4.56) 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา เรื่อง การเขียนสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 แผน จำนวน 22 ชั่วโมง มีคุณภาพค่าเฉลี่ยเท่ากับ (gif.latex?\bar{x}= 4.59) 3) แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบอัตนัย มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 4)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 1 หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 รายการ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.79 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{x} ) ค่าร้อยละ (%) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบที (t-test แบบ dependent)


ผลการศึกษาพบว่า


1. ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่1 จากกลุ่มตัวอย่าง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.57/85.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80


2. ผลการพัฒนาทักษะการเขียนสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ้อยละ 80 จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 84.38 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 ขึ้นไป


3. ผลการเปรียบเทียบทักษะการเขียนสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( gif.latex?\bar{x} =4.43, S.D.=0.69) 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษําธิกําร. (2549). แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์. กรุงเทพําฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์กํารเกษตรแห่งประเทศไทย.

_______. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพําฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์กํารเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรุณํา ภูมรี. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1.

วิทยํานิพนธ์ครุศําสตรมหําบัณฑิต, สําขําหลักสูตรและกํารสอน บัณฑิตวิทยําลัย มหําวิทยําลัย รําชภัฏอุบลรําชธํานี.

เกริก ท่วมกลําง และจินตนํา ท่วมกลําง. (2552).

การพัฒนาสื่อนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ. นครรําชสีมํา: โรงพิมพ์แหลมทอง.

ขวัญชนก ทองจิตร์. (2556). การเสริมทักษะการเขียนสะกดคำพื้นฐาน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะด้วยการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วิทยํานิพนธ์ครุศําสตรมหําบัณฑิต, สําขําหลักสูตรและกํารสอน บัณฑิตวิทยําลัย มหําวิทยําลัยรําชภัฏเชียงรําย.

ชุมพร นํานํานพนันท์. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนสื่อสาร สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยํานิพนธ์ครุศําสตรมหําบัณฑิต, สําขําหลักสูตรและกํารสอน บัณฑิต วิทยําลัย มหําวิทยําลัยรําชภัฏนครสวรรค์.

ฐิติวรรณ วัฒนรังษี. (2556). การจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา โดยใช้หนังสือประกอบการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยํานิพนธ์ ครุศําสตรมหําบัณฑิต, สําขํา หลักสูตรและกํารสอน บัณฑิตวิทยําลัย มหําวิทยําลัยรําชภัฏรำไพพรรณี.

ถวัลย์ มําศจรัส. (2550). การจัดการเรียนรู้ตามปรัชญาพระราชทาน “เศรษฐกิจพอเพียง”. กรุงเทพําฯ: ธํารอักษร

ทิศนํา แขมมณี. (2554). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหํานคร: บริษัทแอคทีฟ พริ้น จำกัด.

พิมสมร กิตติวิริยกุล. (2557). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยํานิพนธ์ครุศําสตรมหําบัณฑิต, สําขําหลักสูตรและกํารสอน บัณฑิตวิทยําลัย มหําวิทยําลัยรําชภัฏบุรีรัมย์.

ภําคภูมิ หรรนภํา และดุษฎี กองสมบัติ. (2548). การเขียนเพื่อการสื่อสาร. มหําสํารคําม: มหําวิทยําลัยมหําสํารคําม.

รินณํา วิถําทนัง. (2554). การพัฒนาทักษะการเขียนสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะมุ่งประสบการณ์ภาษา. วิทยํานิพนธ์ครุศําสตรมหําบัณฑิต, สําขําหลักสูตรและกํารสอน บัณฑิตวิทยําลัย มหําวิทยําลัยรําชภัฏมหําสํารคําม.

โรงเรียนเทศบําลวัดภูผําภิมุข. (2558). รายงานการประเมินตนเองของโรงเรียนเทศบาลวัดภูผาภิมุข ประจำปีการศึกษา 2557. พัทลุง: โรงเรียนเทศบําลวัดภูผําภิมุข

วรรณี โสมประยูร. (2553). การสอนภาษาไทย. กรุงเทพําฯ: ดอกหญ้ําวิชํากําร.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2550). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. มหําสํารคําม: มหําวิทยําลัยมหําสํารคําม.

_______. (2551). นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Back Ward Desing. มหําสํารคําม: มหําวิทยําลัยมหําสํารคําม.

สมยศ นําวีกําร. (2545). การบริหารเชิงกลยุทธ์กรณีศึกษาพฤติกรรมในองค์กร. กรุงเทพําฯ: บรรณกิจ.

สำนักงํานเลขําธิกํารสภํากํารศึกษํา. (2547). สรุปรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูต้นแบบตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: แคนดิดมีเดีย.

สำนักงํานวิชํากํารและมําตรฐํานกํารศึกษํา. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพําฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์กํารเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2552). 21 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพําฯ: ภําพพิมพ์.

เสําวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2556). การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา. กรุงเทพําฯ: มูลนิธิ โรตํารีแห่งประเทศไทย.

อัจฉรํา ชีวพันธ์. (2554). พัฒนาทักษะภาษาพัฒนาความคิดด้วยกิจกรรมการเล่นประกอบการสอนภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 8.

กรุงเทพํฯ: แห่งจุฬําลงกรณ์มหําวิทยําลัย.