การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการประกอบอาหาร เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

นุจรีย์ บูรณศิล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการประกอบอาหาร เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการประกอบอาหาร 3) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล  ปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองป่าตอง จำนวน 25 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling : CRS) เด็กแต่ละห้องคละความสามารถกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จำนวน 24 แผน 2) ชุดกิจกรรมการประกอบอาหาร 8 ชุด 3) แบบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 ชุด ได้แก่ แบบ
ทดสอบภาคปฏิบัติ (performance test) จำนวน 16 ข้อ และแบบทดสอบปรนัยเลือกตอบ (objective multiple choice) จำนวน 40 ข้อ โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One-Group Pretest Post-test Design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t – test แบบ Dependent Samples


ผลการวิจัยพบว่า


1) ประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการประกอบอาหาร เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.51 / 85.60 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80


2) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการประกอบอาหาร มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


3) ค่าดัชนีประสิทธิผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการประกอบอาหาร เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เท่ากับ 0.7139 แสดงว่า เด็กปฐมวัยมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 71.39

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : คุรุสภา ลาดพร้าว.

กัญญารัตน์ แก้วละเอียด. (2554). ผลของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ปฐมวัยศึกษา) สาขาวิชาปฐมวัยศึกษา ภาควิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กรรยา ภูวนารถ. (2555). การพัฒนากิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เบรน-เบส บุ๊คส์.

กาญจนา สิงหเรศร์. (2551). ผลของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารแบบร่วมมือที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

ฉวี บุญทูล. (2557). ผลการส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย โดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ชนิดาภา กุลสุวรรณ์. (2558). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการ สอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ชุลีพร สงวนศรี. (2550). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาเด็กปฐมวัยกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์.

ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์. (2555). ประโยชน์ของการประกอบอาหารในเด็กปฐมวัย. [Online]. Available : http://daratim54. blogspot.com/2012/04/blog-post_08.html [23 ตุลาคม 2558].

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.(พิมพ์ครั้งที่ 19 ). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิติธร ปิลวาสน์. (2557). [Online] . การประกอบอาหาร. Available : http://taamkru.com/th/การประ กอบอาหาร/. [20 ตุลาคม 2558]

นภเนตร ธรรมบวร. (2553). การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ปิยนุช พลสมบัติ. (2558). ความสามารถทางพหุปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกษตรกรน้อย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรพรรณ ไวทยางกูร. (2552). วิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย. ใน ขัตติยดา ไชยโย, การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก ปฐมวัย. หน้า 7-9. กรุงเทพฯ : สาราเด็ก.

พลอยภัทรา จันทร์เด่นดวง. (2555). ผลการจัดประสบการณ์ประกอบอาหารที่มีต่อความสามารถด้านประสาทสัมผัสของเด็กปฐมวัย. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย)มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : แนวคิดและเทคนิคการสอน.กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

แพรวา วิหงษ์. (2557). ทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ วิทยาศาสตร์ ปฏิบัติการ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ .

พรเพ็ญ บัวทอง. (2555). ผลของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติท้องถิ่นที่มีต่อ พฤติกรรมทาง สังคมของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

ภัสรำไพ จ้อยเจริญ. (2556). ผลของการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการวัฏจักรการเรียนรู้กับการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนที่มีต่อความสนใจใฝ่รู้ของเด็กอนุบาล. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการศึกษาปฐมวัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนทกานติ์ รอดคล้าย. (2557). การพัฒนาเด็กและครอบครัวในศตวรรษที่ 21 (Child and Family Develop ment in the 21th Century). [Online] Available http://taamkru.com/th/การพัฒนาเด็กและ ครอบครัวในศตวรรษที่21/. [16 กันยายน 2558]

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542) . การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ :เอพี กราฟฟิกส์ ดีไซน์.

ยุพาภรณ์ ชูสาย. (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กฐมวัย.ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ลภัสรดา คำสงค์ (2558). ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วณิชชา สิทธิพล. (2556). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัด กิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิจารณ์ พานิชย์. (2555 : 5-7). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วรรณนิภา ฟักเขียว. (2557). ความสามารถด้านตรรกคณิตศาสตร์ และด้านความเข้าใจระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารไทยภาคกลาง. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

แวนคลีฟ, เจนิซ. (2558). 80 กิจกรรมวิทย์ปฐมวัย : อนุบาล-ประถมศึกษาปีที่ 2 . แปลจาก Janice Van Cleave’s Teaching the Fun of Science to Young Learner: Grades Pre-K through 2 โดย ภัทราวุธ พุสิงห์. กรุงเทพฯ : นานมีบุคส์พับลิเคชั่น.

วัฒนา มัคคสมัน. (2554). การสอนแบบโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย แนวคิดเชิงทฤษฎี-วัยเด็กตอนกลาง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. [Online]. Available : http://www.secondary11.go.th/2016/ th/download/files/guidance10.pdf [29 มีนาคม 2559].

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). แนวคิดสู่การปฏิบัติ : แนวการจัดประสบการณ์ปฐมวัยศึกษา (หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ : อิเล็กทรอนิคเวิล์ด.

สุกัญญา ทรงสุภาพ. (2559). การพัฒนาความรู้พื้นฐานอาเซียนศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบบูรณาการ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.