ขอบข่ายและลำดับการเรียนรู้ภาษาแม่ : ภาษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นสิ่งที่เกิดจากการผสมผสานองค์ความรู้ของผู้เขียนที่ได้รับในระดับปริญญาเอกกับองค์ความรู้ที่ค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อนำเสนอบทความสะท้อนให้เห็นถึงขอบข่ายและลำดับการเรียนรู้ภาษาแม่ : ภาษาไทย ซึ่งนับว่างานชิ้นนี้เป็นเรื่องแรกที่ได้นำเสนอให้เห็นถึงรูปธรรมของการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย โดยเฉพาะหลักภาษาและการเขียน ซึ่งเป็นสาระที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้จริง จากการวิจัยพบว่าหลักภาษา ประกอบด้วย ระดับคำ การเขียนสะกดคำ การสร้างคำ วลี สัมพันธสาร และประโยค และสาระการเขียน ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของการเขียน รูปแบบของข้อเขียน เทคนิคการพัฒนางานเขียน และกระบวนการเขียน ซึ่งทั้งสองสาระมีลักษณะที่ต่างไปจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 อยู่บ้าง คือ สาระหลักภาษาเพิ่มเรื่อง สัมพันธสาร ส่วนสาระการเขียนเป็นการสอนกระบวนการเขียนเพื่อที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้ และเนื้อหาเหล่านี้จะเรียนจบในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จะมีลักษณะการเรียนแบบ Spiral คือขยายความรู้เพิ่มขึ้นไปเรื่อยแต่ยังคงเรียนในหลักการที่เรียนมาแล้วเหมือนเดิม
Scope and Sequence of Mother Tongue : Thai Language
Krittagan Charlie Dhoppupa
This article illustrates information integratinga researcher’s knowledge obtained from his PhD study and acquired knowledge. It aims to reflect overview and order in first language acquisition: Thai language. This study presents the Thai learning system and management, particularly language and writing in which the learners can apply into their practice. The study found that grammar content consists of word, spelling, sentence construction, phrase, discourse, and sentence. Writing content includes its objective, writing form, writing technique, and writing process. Both grammar and writing contents share similarities and differences according to the Basic Core Curriculum B.E. 2551. While grammar content focuses on discourse, writing contentemphasizes the importance of the writing process in which learners can use in their daily life. These contents will be studied and finished by grade 6. In addition, students at grade 7 to 12 continue their learning using spiral learning process and extend their knowledge based on the grammar and writing contents.
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์