รูปแบบการส่งเสริมจิตสาธารณะโดยการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษา

Main Article Content

ลำเทียร ชนะสุวรรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาในการสร้างรูปแบบที่ส่งเสริมจิตสาธารณะในระดับก่อนประถมศึกษา  2) สร้างรูปแบบส่งเสริมจิตสาธารณะในระดับก่อนประถมศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการและศักยภาพของชุมชนและสถานศึกษา  3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบส่งเสริมจิตสาธารณะในระดับก่อนประถมศึกษาที่มีต่อพัฒนาการด้านสังคม ด้านอารมณ์และจิตใจเพื่อหาข้อสรุปสำหรับการเรียนรู้ และพัฒนาด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนาโดยประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมแล้วรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการการสัมภาษณ์ระดับลึก การจัดกลุ่มสนทนา และการสังเกตพฤติกรรม จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญอันได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา  คณะกรรมการสถานศึกษา  ผู้ปกครอง และนักเรียน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแปลความหมายข้อมูลแล้วสร้างมโนทัศน์และสรุปผล


การวิจัยพบว่า


  1. รูปแบบการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษามีลักษณะดังนี้ การมีส่วนร่วมกิจกรรมประชุมคณะกรรมการ การมีส่วนร่วมกิจกรรมประชุมผู้ปกครอง   การมีส่วนร่วมกิจกรรมในการระดมทุน  การมีส่วนร่วมกิจกรรมกับองค์กรท้องถิ่น  .การมีส่วนร่วมกิจกรรมในการออมทรัพย์และการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสำคัญต่างๆ

  2. รูปแบบการส่งเสริมจิตสาธารณะตามความต้องการและศักยภาพของชุมชนและสถานศึกษาประกอบไปด้วย การส่งเสริมจิตสาธารณะโดยการเรียนรู้เรื่อง ศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่น  การส่งเสริมจิตสาธารณะโดยการเรียนรู้เรื่องอาชีพในชุมชน การส่งเสริมจิตสาธารณะโดยการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน  การส่งเสริมจิตสาธารณะโดยการเรียนรู้เรื่องสุขภาพอนามัย  การส่งเสริมจิตสาธารณะโดยการเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตยและวินัยนักเรียน รูปแบบการส่งเสริมจิตสาธารณะโดยการเรียนรู้เรื่องการออมทรัพย์  การส่งเสริมจิตสาธารณะโดยการเรียนรู้เรื่องธนาคารความดี การส่งเสริมจิตสาธารณะโดยการเรียนรู้เรื่องข่าวสารภายนอกชุมชน 

การมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะยังส่งผลไปยังถึงพัฒนาการด้านสังคม ด้านอารมณ์และจิตใจของเด็กนักเรียนในระดับก่อนประถมศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและของประเทศชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: วี พริ้นท์.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2538). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปริญญา จันทะเลิศ และคณะ. (2557). การพัฒนานักเรียนด้านจิตสาธารณะของโรงเรียนโพนสิมอนุเคราะห์ สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุเขต2. วิทยานิพนธ์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ มหาสารคาม

ปารณทัตต์ แสนวิเศษ. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาริชาติ วลัยเสถียร ( 2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

รัตติกร ผรณสุวรรณ. (2552). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษากับหน่วยงานเครือข่าย. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตร ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รำไพ เกียรติอดิสร. ( 2555) การศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพการ เลี้ยงเด็กวัย0-2 ปี. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศึกษาธิการ,กระทรวง. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา.

อุไรวรรณ คุ้มวงษ์. (2551). จิตสาธารณะเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมตามโครงการพระราชดำริ. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฤทัยวรรณ หาญกล้า (2554) การพัฒนากลยุทธการบริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาเพื่อ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.