การศึกษาเรื่องกฎการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Scilab และแอปพลิเคชัน Xcos
Main Article Content
บทคัดย่อ
ได้ทำการศึกษาเรื่องกฎการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีโดยใช้แอปพลิเคชัน Xcos ที่มีอยู่ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Scilab โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแสดงลักษณะของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีที่มีลักษณะช้าหรือเร็วแตกต่างกันในรูปของกราฟแบบเอ็กซ์โปเนนเชียลเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจและง่ายต่อการนำไปใช้ในการเรียนการสอน และยังได้ทำการศึกษาลักษณะของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีแบบต่อเนื่องที่มีความซับซ้อนและยุ่งยากอีกด้วย ในระหว่างการศึกษา ผู้วิจัยยังได้เปรียบเทียบลักษณะของกราฟที่ได้จากศึกษาวิจัยกับรูปกราฟที่ได้จากการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Scilab โดยตรง พบว่า ได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกันทุกประการ นอกจากนี้ ยังได้นำรูปกราฟที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวนี้ไปจัดทำเป็นแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเรื่องกฎการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีแล้วนำไปทดลองใช้กับนิสิตชั้นปีที่ 3 หลักสูตร กศ.บ. วิชาเอกฟิสิกส์ คณะศึกษาศาสตร์ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา จำนวน 5 คน โดยวิธีการเลือกแบบสุ่ม พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน และคำนวณค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index: E.I.) ได้ร้อยละ 88 ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่าแอปพลิเคชัน Xcos ที่มีอยู่ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Scilab มีความเหมาะสมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเตรียมการเรียนการสอนของรายวิชาฟิสิกส์ในระดับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายหรือระดับมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
ซันซิมา ภู่ทอง (2562). การศึกษาการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์โดยใช้ Xcos ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Scilab. โครงงานวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์ หลักสูตรปริญญาการศึกษาบัณฑิต วิชาเอกวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์ คณะศึกษาศาสตร์ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ณัฐวุฒิ ยกน้อยวงศ์ (2561). การพัฒนาทักษะการให้เหตุผลและการพัฒนาแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ โดยใช้กลวิธีแก้ปัญหาเชิงตรรกะร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย [วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์] มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ธำรง เมธาศิริ. (2541). ฟิสิกส์ของนิวเคลียสเบื้องต้น. กรุงทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล ฉิมงาม (2558). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ประสงค์ เกษราธิคุณ. (2561). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาฟิสิกส์นิวเคลียร์. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พื้นฐาน. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง.
ยุวันดา อินทรสวัสดิ์ (2560). การศึกษาฟิสิกส์ของคลื่นโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Scilab. โครงงานวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์หลักสูตรปริญญาการศึกษาบัณฑิต วิชาเอกวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์ คณะศึกษาศาสตร์ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วรินดา พัฒน์แก้ว. (2561). การศึกษาการเคลื่อนที่แบบมีแรงต้านทานของอากาศโดยใช้ Xcos ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Scilab. โครงงานวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์ หลักสูตรปริญญาการศึกษาบัณฑิต วิชาเอกวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์ คณะศึกษาศาสตร์ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สุภาภรณ์ บุษยา. (2561). การศึกษาการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงด้วยความเร่งคงที่โดยใช้ Xcos ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Scilab. โครงงานวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์ หลักสูตรปริญญาการศึกษาบัณฑิต วิชาเอกวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์ คณะศึกษา ศาสตร์ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อภิญญา สายนุ้ย (2560). การศึกษาทฤษฎีบทงานและพลังงานในระบบอนุรักษ์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Scilab. โครงงานวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์ หลักสูตรปริญญาการศึกษาบัณฑิต วิชาเอกวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์ คณะศึกษาศาสตร์ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Leros, A. & Andreatos, A. S. (2012). Using Xcos as a teaching tool in a simulation course. Proceedings of the 6th international conference on Communications and Information Technology, and Proceedings of the 3rd World conference on Education and Educational Technologies. 121-126. https://www.researchgate.net/publication/ 262315171_Using_Xcos_as_a_teaching_tool_in_a_simulation_course
Nandini, C. S. (2017). Simulation of Simple Harmonic Oscillator using Xcos, Journal of Emerging Technologies and Innovative Research. 4(9), 831-839. https://www.jetir.org/papers/ JETIR1709123.pdf
Scilab Enterprises (2013). Xcos for very beginners. Scilab Enterprises, Versailles, France. 15 pages. https://www.scilab.org/sites/default/ files/prg/att/1732/Xcos_beginners_0.pdf
Sastri, O. S. K. S. (2014). Model based simulation of forced oscillator using open source application Xcos: A constructivist paradigm. International Journal of Innovative Science, Engineering & Technology, 1(8), 93-100. https://www.ijiset.com/v1s8/IJISET_V1_I8_13.pdf
Serway, A. R. & Jewett, J.W. (2018). Physics for Scientists and Engineers with Modern Physics. (10th ed.) Cengage Learning. 1296 p.
Verma, A. K. & Verma, R. (2020). Introduction to Xcos: A Scilab tool for modeling dynamical systems. kdp. amazon.com. 80 pages. https://www.researchgate.net/publication/ 343472236_Introduction_to_Xcos_A_Scilab_Tool_for_Modeling_Dynamical_Systems