การพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยการจัดการเรียนรู้ ด้วย Color Vowel® Approach ร่วมกับแอพพลิเคชั่น ELSA Speak ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

พิมพกานต์ บุญทองแก้ว
ณัฐนันท์ ทองมาก
บงกช จันทร์สุข
พูลเกียรติ มงคลสวัสดิ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วย Color Vowel® Approach ร่วมกับแอพพลิเคชั่น ELSA Speak 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลประเมินการออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ และ 3) เพื่อศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยการจัดการเรียนรู้ด้วย Color Vowel® Approach ร่วมกับแอพพลิเคชั่น ELSA Speak กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วย Color Vowel® Approach ร่วมกับแอพพลิเคชั่น ELSA Speak, แบบประเมินทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และแบบประเมินทัศนคติและความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า T-Test แบบไม่อิสระ (T-Test Dependent Samples)
        ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้เรียนหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วย Color Vowel® Approach ร่วมกับแอพพลิเคชั่น ELSA Speak สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01, 2) ทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้เรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วย Color Vowel® Approach ร่วมกับแอพพลิเคชั่น ELSA Speak มีการพัฒนาในทิศทางเชิงบวกสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผู้เรียนมีทัศนคติและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วย Color Vowel® Approach ร่วมกับแอพพลิเคชั่น ELSA Speak ในระดับเห็นด้วยอย่างมาก

Article Details

How to Cite
บุญทองแก้ว พ., ทองมาก ณ., จันทร์สุข บ., & มงคลสวัสดิ์ พ. . . (2024). การพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยการจัดการเรียนรู้ ด้วย Color Vowel® Approach ร่วมกับแอพพลิเคชั่น ELSA Speak ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ จังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 24(2), 98–110. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v24i2.268983
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กษิรา จันทะสะเร. (2562). การศึกษาและเปรียบเทียบแอปพลิเคชันสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษในระดับเสียงและคำผ่านโทรศัพท์มือถือ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(3), 18-36.

ชัชรีย์ บุนนาค. (2561). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยและข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์ การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ปี 2564 – 2568. ใน ดวงสมร รุ่งสวรรค์โพธิ์ (บรรณาธิการ). การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 “Graduate School Conference 2018”, 15 พฤศจิกายน 2562. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ณัฐสุดา สิทธิชัย, ปรางค์วิไล สวาสนา, มัลลิกา วรวิเศษ, ธิดารัตน์ วงศ์ลา และชัยมงคล ปินะสา. (2564). การจัดการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แอปพลิเคชัน Duolingo ประกอบการสอนนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนาสีสลากกินแบ่งสงเคราะห์ที่ 59 อําเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 15(2), 9-17.

ถิรวัฒน์ ตันทนิส. (2556). ปัญหาการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษาสหวิทยาการชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 51: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5-7 กุมภาพันธ์ 2556. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทวีศักดิ์ ชูมา. (2559). แนวทางการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้รูปแบบกลวิธีการสื่อสาร.วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 3(1), 125-137. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/141674/104986.

บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2564, 13 สิงหาคม). ชงปรับแผนทดลองใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ. MOE360. https://moe360.blog/2021/08/13/competency-based-education/.

บุญมี พันธุ์ไทย. (2559). ระเบียบวิธีวิจัยการศึกษาเบื้องต้น (Introduction to Educational Research Methodology). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เบญจมาศ เลิศบวร, ชยานุช เดิมคลัง, ธสร จิโรภาส, จันทร์จิรา พนมเวช, นันทวี ภักดีจิตต์ และสหัสวรรษ ชัยยะจิตร. (2563). รายงานประเมินความพึงพอใจและไม่พึงพอใจการบริการอาหาร เครื่องดื่ม และบริการต่าง ๆ ในศูนย์อาหารโรงช้าง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีการศึกษา 2563. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปวีณนุช พุ่มจิต และอังค์วรา เหลืองนภา. (2562). การใช้แอปพลิเคชันในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง. ใน การประชุมวิชาการนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 (น. 550-561). กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รักษมน ยอดมิ่ง. (2560). การสอนออกเสียงภาษาอังกฤษของครูภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 1216-1226. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/download/88743/69776/.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). การสื่อสาร. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). ระเบียบวิธีการวิจัย (RESEARCH METHODOLOGY). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2557). การวิจัยเชิงทดลองทางการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 6(11), 181-190. วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2557). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิจารณ์ พานิช. (2562). วิจัยชั้นเรียนเปลี่ยนครู. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2567). สอบถามค่าสถิติพื้นฐานทั่วประเทศ (ทุกระดับ). O-NET. http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Notice/FrBasicStat.aspx.

สถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) ระดับชั้นมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. http://ltu.obec.go.th/english/2013/index.php/th/2012-08-08-10-26-5/74-cefr.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564, 20 ตุลาคม). สมรรถนะการสื่อสาร. CBE Thailand. https://cbethailand.com/หลักสูตร-2/กรอบหลักสูตร/สมรรถนะหลัก-6-ประการ/สมรรถนะการสื่อสาร/.

Ahmad, K. (2016). Integrating pronunciation with vocabulary skills. In T. Jones (Ed.), Pronunciation in the classroom: The overlooked essential (pp. 1-16). Alexandria, VA: TESOL Publications. https://www.tesol.org/docs/default-source/books/14028_sam.pdf?sfvrsn=2&sfvrsn=2.

Anggraini, A. (2022). Improving Students’ Pronunciation Skill Using ELSA Speak Application. Journal of English Language and Pedagogy, 5(1), 135-141.

Cambridge University Press & Assessment. (2020). Cambridge English Qualifications A2 Key Handbook for teachers for exams from 2020. Cambridge, United Kingdom: Cambridge University Press. https://www.cambridgeenglish.org/images/504505-a2-key-handbook-2020.pdf.

ELSA. (2023). About Us. ELSA Speak. https://th.elsaspeak.com/about-us/.

ETS. (2022). 2022 Report on Test Takers Worldwide: TOEIC Listening & Reading Test. https://www.ets.org/pdfs/toeic/toeic-listening-reading-report-test-takers-worldwide.pdf.

IELTS Research. (2020). Test-taker performance 2019. IELTS. https://www.ielts.org/en-us/research/test-taker-performance.

Kone, A. M., Jannah, H., & Hafzah, A. (2019). The Implementation of Color Vowel Chart to Enhance the EFL Students’ Pronunciation At SMPN 1 Majauleng. Tamaddun, 18(2), 110–132. 10.33096/tamaddun.v18i2.71.

Prisna A P., Rabiatul A. (2024). Color Vowel Approach: Coping with Students’ Learning Styles in Teaching Pronunciation. Jurnal Pendidikan dan Pembelajaran Indonesia, 4(1),338-345

Samad, I., & Ismail, I. (2020). ELSA Speak Application as a Supporting Media in Enhancing Students’ Pronunciation Skill. Maspul Journal of English studies, 2(2), 1-7. 10.33487/majesty.v2i2.510.

Syaifullah, S., Qoirum, Y., Andriani, R., & Herlinawati, H. (2022). Using the Color Vowel Chart in Teaching Speaking. ELT-Lectura, 9(2), 136-150. 10.31849/elt-lectura.v9i2.10317.

University of Cambridge. (2013a). Communication. Cambridge Advanced Learner's Dictionary (4th Ed.). Cambridge, United Kingdom: Cambridge University Press.

University of Cambridge. (2013b). Pronunciation. Cambridge Advanced Learner's Dictionary (4th Ed.). Cambridge, United Kingdom: Cambridge University Press.