การจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภูมิศาสตร์ 2 ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาในรายวิชาภูมิศาสตร์ 2 ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาภูมิศาสตร์ 2 ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางภูมิศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาในการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ผ่านกระบวนการทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภูมิศาสตร์ 2 ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางภูมิศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. ความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนผ่านกระบวนการทางภูมิศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H อยู่ในระดับที่มากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
แก้วใจ สุวรรณเวช. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา. สาขาสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.
ทัศนีย์ สิงห์เจริญ. (2543). ความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนวังไกลกังวลและโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ต่อวิธีการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
น้อม งามนิสัย. (2559). การเรียนการสอนภูมิศาสตร์ของศูนย์การศึกษา “โจ๊ะมาโลลือหล่า”. วารสารภูมิศาสตร์ สมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย.
ศศิมา สุขสว่าง. (2562). การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. สืบค้น 2 มิถุนายน 2566 จาก https://www.sasimasuk.com/17102558/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2561. คู่มือการใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดสาระภูมิศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย : กรุงเทพมหานคร.