การมีส่วนร่วมของสถาบันศึกษาปอเนาะกับภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย: กรณีศึกษาสถาบันศึกษาปอเนาะต้นแบบ ในจังหวัดปัตตานี

Main Article Content

นินัสรี นิเงาะ
วรภาคย์ ไมตรีพันธ์

บทคัดย่อ

       งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการมีส่วนร่วมของสถาบันศึกษาปอเนาะต้นแบบกับภาคีเครือข่าย และ 2) องค์ประกอบที่ทำให้สถาบันศึกษาปอเนาะต้นแบบประสบความสำเร็จในการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต และการศึกษาเอกสาร ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างสถานศึกษาปอเนาะต้นแบบกับภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย 1) การวางแผนร่วมกัน ได้แก่ การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ การออกแบบการใช้ทรัพยากรตามบริบทของปอเนาะ การสื่อสารแผนและปฏิทินการจัดกิจกรรม และการกำหนดเป้าหมายความสำเร็จร่วมกัน 2) การดำเนินการร่วมกัน ได้แก่ การเตรียมสถานที่ กลุ่มเป้าหมาย วัสดุ สื่อและอุปกรณ์ การสนับสนุนวิทยากร การประชาสัมพันธ์กิจกรรม และการพัฒนาและบำรุงรักษาแหล่งเรียนรู้ร่วมกัน 3) การประเมินผลร่วมกัน ได้แก่ การร่วมพูดคุยผลลัพธ์ของกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง การติดตามและประเมินผลเป็นระยะ และการร่วมสรุปรายงานผล 4) การรับผลประโยชน์ร่วมกัน ได้แก่ การร่วมยินดีกับรางวัลที่ได้รับและการรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้น สำหรับองค์ประกอบที่ทำให้สถาบันศึกษาปอเนาะต้นแบบประสบความสำเร็จในการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา คือ การมีวิสัยทัศน์ในการบริหารของผู้บริหาร การวางระบบบริหารจัดการที่เป็นรูปธรรมอย่างประสิทธิภาพ การสื่อสารกับภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่องและการสนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและกัน

Article Details

How to Cite
นิเงาะ น. ., & ไมตรีพันธ์ ว. . (2024). การมีส่วนร่วมของสถาบันศึกษาปอเนาะกับภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย: กรณีศึกษาสถาบันศึกษาปอเนาะต้นแบบ ในจังหวัดปัตตานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 24(2), 126–138. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v24i2.268935
บท
บทความวิจัย

References

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2540). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาย โพธิสิตา. (2564). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ: คู่มือนักศึกษาและนักวิจัยสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

ชาวาลินี มา. (2556) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาตามทัศนะของครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีเขต 2. [สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธนา ประมุขกูล. (2547). มุ่งสู่คุณภาพการศึกษา. วัฒนาพานิช. นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2547). การมีส่วนร่วม : หลักการพื้นฐาน เทคนิค และกรณีตัวอย่าง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บัญชร แก้วส่อง. (2545). องค์การ : การจัดการและการพัฒนา (พิมพค์รั้งที่2). กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2547). เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. โครงการสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส).

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2540). รายงานการวิจัย การปฏิรูปการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์. สำนักพัฒนาระบบการศึกษาและวางแผนมหาภาค สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

พิสิฐ เทพไกรวัล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศิริกาญจน์ โกสุมภ์. (2542). การมีส่วนร่วมของชุมชนและโรงเรียนเพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตสาขาพัฒนศึกษาศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรูในงานพัฒนาชุมชน. โอเดียนสโตร์.

สัมมนาการณ์ บุญเรือง. (2562). แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์. [หลักสูตร พัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.) รุ่นที่ 9]. สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงาน, กศน. (2563). สรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในสถาบันศึกษาปอเนาะ ปีงบประมาณ พ.ศ.2563

สำนักงาน, คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาและการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

สำนักงาน, ปฏิรูปการศึกษา. (2545). ชุดฝึกอบรมผู้นำชุมชน. โรงพิมพ์แอลที่เพรส จำกัด. สุมาลี สังข์ศรี. (2549). รายงานการจัดการศึกษานอกระบบเพื่อการศึกษาตลอดชีวิตตามแนว พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. พิมพ์ดีการพิมพ์.

สุมิตร สุวรรณ และคณะ. (2560). แนวทางการขับเคลื่อนเครือข่ายความร่วมมือพหุภาคีเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดนครปฐม. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

แสงดาว น้ำฟ้า. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองเทศบาลตำบลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อับดุลฮามิด สะดียามู. (2553). การมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถาบันศึกษาปอเนาะในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี ตามทัศนะของครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนประจําสถาบันศึกษาปอเนาะ. [สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อาทิตย์ วะไลใจ. (2556). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจิมพัฒนา อําเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบรหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

Colleta, N. and Perkins, G. (1995). Participation in Education. Environment Department Paper Series No.001. Washington, DC, The World Ban