การใช้กลวิธีการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับการใช้เกมถอดรหัสภาพ (Picture Decoding) เพื่อพัฒนาความสามารถและความคงทนในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษร่วมกับการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนพร้อมกับการใช้เกมถอดรหัสภาพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับการใช้เกมถอดรหัสภาพ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนพร้อมกับการใช้เกมถอดรหัสภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 4 จำนวน 36 คน ในส่วนของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ความคงทนในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ แผนการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับการใช้เกมถอดรหัสภาพ และแบบประเมินความพึง พอใจการจัดจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับการใช้เกมถอดรหัสภาพ ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยได้คำนวณ เป็น ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบไม่เป็นอิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 60/60 โดยใช้สูตร E1/E2
ผลวิจัยพบว่า 1) การใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการเรียน แบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับการใช้เกมถอดรหัสภาพ เพื่อพัฒนาความสามารถและความคงทนในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ มีค่าประสิทธิภาพที่ค่าเท่ากับ 80/79.7 ซึ่งประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 2)ผลสัมฤทธิ์ทางการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเรียนสูงกว่าก่อนเรียนการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับการใช้เกมถอดรหัสภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับการใช้เกมถอดรหัสภาพ เพื่อพัฒนาความสามารถและความคงทนในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กรมวิชาการ. (2564). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
จิราวดี รัตนไพฑูรย์ชัย. (2559). ก้าวสู่ AEC ภาษาอาเซียนจำเป็นจริงหรือสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา. เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2566. เข้าถึงได้จาก www.itd.or.th/weeklyarticles?download=246%3Aar
จุฬารัตน์ ดวงแก้ว. (2559). ความพึงพอใจของครูต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 1. เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2566. เข้าถึงได้จากhttp://www.edujournal.ru.ac.th/index.php /abstractData/viewIndex/844.ru
ชลลดา เรืองฤทธิ์ราวี. (2563). "ผลการใช้กลวิธีช่วยจำเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2." การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ดวงเดือน จังพานิช. (2562). "การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการจำคำศัพท์ ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยวิธีสอนแบบสัมพันธ์ขอบข่ายความหมายและวิธีสอนปกติ." วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2542). การสื่อสารรณรงค์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์เน้น การ เจาะจงกลุ่ม. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์รั้วเขียว. บำรุง โตรัตน์. (2564). การออกแบบงานวิจัยสาขาภาษาศาสตร์ประยุกต์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
บุษยากร ซ้ายขวา. (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer–assisted Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชนเผ่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
ประนอม ดอนแก้ว. การใช้กลวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวทางกายในการเล่นวอลเล่ย์บอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเวียงมอกวิทยา. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เพ็ญนภา แป้นอินทร์ และภัทร์ธีรา เทียนเพิ่มพูล. (2559). ผลของรูปแบบการเรียนรู้และการสอนแบบ กลยุทธ์ช่วยจำทีมีต่อผลสัมฤทธิ์ด้านคำศัพท์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 : กรณีศึกษาของโรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น. ใน Proceedings รวมบทความวิจัยระดับบัณฑิต การนำเสนอผลงานวิจัยการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 นวัตกรรมและงานวิจัยกลไกพัฒนาประเทศ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (pp. 197-206). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิทยาลัยเทคโนโลยี สยาม.
Anderson, L.W., and Block. J.H. Mastery Learning Model of Teaching and Learning in The International Encyclopedia of Education Program. , 2019.
Arends, J.W. Cooperative learning Making “Groupwork”. New Directions for Teaching and Learning. San Francisco; Jossey-Bass Publishers. 2018.
Haller, Cynthia K. and others Dynamics of peer education in cooperative learning workgroups” In Journal of Engineering Education(Jul.2000 ) retrieved January 7,2024 from http://www’findarticles.com/p/articles/mi_ga3886/is200007/ai_n8919768”