การพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะนักกีฬาปันจักสีลัต

Main Article Content

ณธพล ทองธนภัทร
ชนิตา ไกรเพชร
สมรรถชัย คันธมาทน์
กฤษดา แก้วยก
ศิริพร มยะกุล
จุฑาทิพย์ ทองฉิม

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความกลมกลืนโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบวัดคุณลักษณะนักกีฬาปันจักสีลัต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิกีฬาปันจักสีลัต จำนวน 12 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ส่วนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ นักกีฬาปันจักสีลัตและผู้ฝึกสอนจากสโมสรสมาชิกของสมาคมกีฬาปันจักสีลัตแห่งประเทศไทย จำนวน 311 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบปลายปิด
        เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบวัดคุณลักษณะนักกีฬาปันจักสีลัต ซึ่งพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คุณลักษณะทางด้านสรีรวิทยา 2) คุณลักษณะทางด้านจิตใจ 3) คุณลักษณะทางด้านสังคม 4) คุณลักษณะทางด้านเทคนิค และ 5) คุณลักษณะทางด้านความสามารถทางสมอง รวมทั้งสิ้น 30 ข้อคำถาม แบบวัดมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92
        ผลการวิจัยพบว่า โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบวัดคุณลักษณะนักกีฬาปันจักสีลัตมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องดังนี้ x^2 = 2.535, p-value = 0.469, x^2/df = 0.845, SRMR = 0.013, RMSEA = 0.000, GFI = 0.995, AGFI = 0.974, CFI = 1.000
        องค์ประกอบทั้ง 5 ด้านมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.70 - 0.83 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.27 - 0.70 โดยองค์ประกอบด้านความสามารถทางสมองมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงที่สุด ในขณะที่องค์ประกอบด้านจิตใจมีค่าต่ำที่สุด
        ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าแบบวัดคุณลักษณะนักกีฬาปันจักสีลัตที่พัฒนาขึ้นมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้สามารถนำไปใช้ในการคัดเลือกและพัฒนานักกีฬาปันจักสีลัตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
ทองธนภัทร ณ. ., ไกรเพชร ช. ., คันธมาทน์ ส. ., แก้วยก ก. ., มยะกุล ศ. ., & ทองฉิม จ. . (2024). การพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะนักกีฬาปันจักสีลัต. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 24(2), 111–125. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v24i2.268516
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7. สืบค้นจาก https://www.watbost.go.th/portal/datas/file/1687846766.pdf

กองสมรรถภาพการกีฬา ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2549). การทดสอบสมรรถภาพทาง กายนักกีฬาเยาวชนแห่งชาติและนักกีฬาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: การกีฬาแห่งประเทศไทย.

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2554). คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต. สืบค้นจาก https://online.pubhtml5.com/iytc/ppnt/#p=1

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2559). กติกาปันจักสีลัต. สืบค้นจาก https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2564). ผลการประเมินการดำเนินงานสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.sat.or.th/flscc64/

นักรบ ทองแดง. (2553). ผลของการฝึกเตะสองแบบที่มีต่อความเร็วของการเตะในกีฬาปันจักสีลัต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

นาคิน คําศรี. (2547). การสร้างแบบทดสอบปันจักสีลัต สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยพลศึกษา (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2547). การวัดประเมินการเรียนรู้ (การวัดประเมินแนวใหม่). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประชา ฤาชุตกุล. (2542). ปันจักสีลัตสำหรับผู้ฝึกสอนและผู้ตัดสินกีฬาปันจักสีลัต. ปัตตานี: สมาคมปันจักสีลัตแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วรรษธรา ธรรมชูโต. (2560). การสร้างชุดอุปกรณ์ทดสอบความสามารถที่เฉพาะเจาะจงกับกีฬาปันจักสีลัต. วารสารสุขศึกษาพลศึกษาและสันทนาการ, 43(1), 221-228. สืบค้นจาก https://so03.tcithaijo.org/index.php/tahper/article/view/253139/170052

สุปราณี ขวัญบุญจันทร์. (2541). จิตวิทยาการกีฬา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

อนุรักษ์ ปักการะนัง. (2562). การสร้างเกณฑ์การประเมินทักษะกีฬาปันจักสีลัตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น. วารสารสุขศึกษาพลศึกษาและสันทนาการ, 48(1), 218-225. สืบค้นจาก https://so03.tcithaijo.org/index.php/tahper/article/view/253139/170052

อังคณา อุ่นกสิเวช. (2554). ผลการฝึกปันจักสีลัตที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

อับดุลเล๊าะ มะหลี. (2560). การวิเคราะห์การใช้ทักษะปันจักสีลัตในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ (พ.ศ. 2550 - 2556) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ปัตตานี.

Abbott, A., & Collins, D. (2004). Eliminating the dichotomy between theory and practice in talent identification and development: Considering the role of psychology. Journal of Sports Sciences, 22(5), 395-408. https://doi.org/10.1080/02640410410001675324

Allen, M. J., & Yen, W. M. (1979). Introduction to measurement theory. Belmont, CA: Wadsworth.

Andronikos, G., Souglis, A., & Martindale, R. J. (2021). Relationship between the talent development environment and motivation, commitment, and confidence. Journal of Physical Education and Sport, 21(1). https://doi.org/10.7752/jpes.2021.01028

Barraclough, S., Till, K., Kerr, A., & Emmonds, S. (2022). Methodological approaches to talent identification in team sports: A narrative review. Sports, 10(6), 81. https://doi.org/10.3390/sports10060081

Belling, P. K., & Ward, P. (2015). Time to start training: A review of cognitive research in sport and bridging the gap from academia to the field. Procedia Manufacturing, 3, 1219-1224. https://doi.org/10.1016/j.promfg.2015.07.202

Bullock, N., Gulbin, J. P., Martin, D. T., Ross, A., Holland, T., & Marino, F. (2009). Talent identification and deliberate programming in skeleton: Ice novice to Winter Olympian in 14 months. Journal of Sports Sciences, 27(4), 397-404. https://doi.org/10.1080/02640410802549751

Burns, N., & Grove, S. K. (2001). The practice of nursing research: Conduct, critique and utilization (4th ed.). Philadelphia, PA: W.B. Saunders.

Danielsan, A. G. (2009). School-related social support and students' perceived life satisfaction. The Journal of Educational Research, 102(4), 303-308.

Doncaster, G., Medina, D., Drobnic, F., Gómez-Díaz, A. J., & Unnithan, V. (2020). Appreciating factors beyond the physical in talent identification and development: Insights from the FC Barcelona sporting model. Frontiers in Sports and Active Living, 2, 91. https://doi.org/10.3389/fspor.2020.00091

Gould, D., & Dieffenbach, K. (2002). Psychological characteristics and their development in Olympic champions. Journal of Applied Sport Psychology, 14(3), 172-204.

Gupta, K. K., Attri, J. P., Singh, A., Kaur, H., & Kaur, G. (2016). Basic concepts for sample size calculation: Critical step for any clinical trial. Saudi Journal of Anesthesia, 10(3), 328-331. https://doi.org/10.4103/1658-354X.174918

Hair, J., Black, W., Babin, B., Anderson, R., & Tatham, R. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Hoeger, W. W. K. (1989). Lifetime physical fitness and wellness (2nd ed.). Englewood, CO: Morton Publishing.

Huijgen, B. C., Leemhuis, S., Kok, N. M., Verburgh, L., Oosterlaan, J., Elferink-Gemser, M. T., & Visscher, C. (2015). Cognitive functions in elite and sub-elite youth soccer players aged 13 to 17 years. PLoS ONE, 10(12), e0144580.

Jacob, Y., Spiteri, T., Hart, N. H., & Anderton, R. S. (2018). The potential role of genetic markers in talent identification and athlete assessment in elite sport. Sports, 6(3), 88. https://doi.org/10.3390/sports6030088

Jacobson, J., & Matthaeus, L. (2014). Athletics and executive functioning: How athletic participation and sport type correlate with cognitive performance. Psychology of Sport and Exercise, 15(5), 521-527.

Likert, R. (1931). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology. New York: Columbia University Press.

Lundgren, T., Högman, L., Näslund, M., & Parling, T. (2016). Preliminary investigation of executive functions in elite ice hockey players. Journal of Clinical Sport Psychology, 10(4), 324-335.

Malinauskas, R. (2010). The associations among social support, stress, and life satisfaction as perceived by injured college athletes. Social Behavior and Personality: An International Journal, 38(6), 741-752. https://doi.org/10.2224/sbp.2010.38.6.741

Mann, D. T., Williams, A. M., Ward, P., & Janelle, C. M. (2007). Perceptual-cognitive expertise in sport: A meta-analysis. Journal of Sport and Exercise Psychology, 29(4), 457-478.

Mohamed, H., Vaeyens, R., Matthys, S., Multael, M., Lefevre, J., Lenoir, M., & Philippaerts, R. (2009). Anthropometric and performance measures for the development of a talent detection and identification model in youth handball. Journal of Sports Sciences, 27(3), 257-266. https://doi.org/10.1080/02640410802482417

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York, NY: Harper & Row.