การใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในการพัฒนาระบบจัดการข้อมูลการติดตามดูแลนักศึกษา ในยุคดิจิทัล ของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหา การติดตามดูแลนักศึกษาในยุคดิจิทัล 2) พัฒนาระบบจัดการข้อมูลการติดตามดูแลนักศึกษาในยุคดิจิทัล 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อระบบจัดการข้อมูลการติดตามดูแลนักศึกษาในยุคดิจิทัล 4) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการยอมรับระบบจัดการข้อมูลการติดตามดูแลนักศึกษาในยุคดิจิทัล งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้หลักการวิเคราะห์และออกแบบระบบของ ADDIE model และศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการยอมรับตามทฤษฎีการยอมรับนวัตกรรม 5 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์ 45 คน และนักศึกษา จำนวน 455 คน โดยทำการสนทนากลุ่มในกลุ่มตัวอย่างที่ 1 เพื่อศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหา การติดตามดูแลนักศึกษาในยุคดิจิทัล และให้กลุ่มตัวอย่างที่ 2 ใช้งานระบบ จากนั้นประเมินความพึงพอใจและความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการยอมรับ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า การสนทนากลุ่ม ผู้ใช้มีความต้องการให้พัฒนาระบบในรูปแบบที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย สามารถบันทึกข้อมูล ค้นหาข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ได้บนระบบออนไลน์ โดยผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อระบบ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 อยู่ในระดับมาก และผลศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการยอมรับระบบ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 อยู่ในระดับมาก โดยขั้นรับทราบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 ขั้นสนใจมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 ขั้นประเมินผลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 ขั้นทดลองใช้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 และขั้นยอมรับมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ซึ่งทั้งหมดอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นใหม่มีประสิทธิภาพและใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
ขจรศักดิ์ วงค์จันทะ และคณะ. (2566). การพัฒนาระบบตอบคำถามอัตโนมัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ. วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 3(2), 28.
จักรพงษ์ ตระการไทย และนเรศ ขันธะรี. (2564). การดำเนินการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษายุคดิจิทัล. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 21(1), 42.
จุมพล ศรีอุดมสุวรรณ, สมชาย อารยพิทยาล และสนิท สิทธิ. (2562). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 5(1), 35.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญสม เดชขจร. (2565). การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ การศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พาสนา เอกอุดมพงษ์ และคณะ. (2562). การศึกษาการยอมรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AR Code สำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าไม้ยางพารา. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ สารสนเทศศาสตร์วิชาการ 2019, 25-26 มิถุนายน 2562. 25-26 มิถุนายน 2562.
ฟ้า วิไลขำ และนงพงา สุขโอสถ. (2566). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ในชุมชนราวต้นจันทร์และชุมชนบ้านวังหาด จังหวัดสุโขทัย. Information and Learning, 34(2), 99-107.
มัชฌกานต์ เผ่าสวัสดิ์ และกิตติศักดิ์ สิงห์สูงเนิน. (2566). การพัฒนาระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง กรณีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 18(2), 16.
ศศิพิมพ์ สายกระสุน และทศพร แก้วเหมือน. (2566). การศึกษาการใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งในกูเกิลแอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานวิชาการร่วมกันในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 1(1), 59.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (16 มิถุนายน 2563). ศัพท์ชวนรู้. เข้าถึงได้จาก สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์: https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/terminology/หมวดหมู่-D/221.aspx
อมรพงศ์ สุขเสน และแจ่มจันทร์ ศรีอรุณรัศมี. (2566). การประยุกต์ใช้คลาวด์คอมพิวติงเพื่อการศึกษาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารมนุษยสังคมศาสตร์, 1(2), 1.
อัญชลี อ่ำประสิทธิ์ และญาณิศา วงษ์สมบัติ. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันเรื่อง การจัดเรียงแบบฟอร์มเวชระเบียนผู้ป่วยใน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 23(2),82-97.
อาคม จันทร์นาม และคณะ. (2565). รูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาด้วยระบบซอฟต์แวร์บริหารการอาชีวศึกษาเพื่อลดจํานวนนักศึกษาออกเรียนกลางคัน ของวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 6(2), 106.
LINE. (7 กรกฎาคม 2566). 12 ปี แอปพลิเคชัน LINE กับ 6 บทบาท ที่ยกระดับชีวิตคนไทยสู่โลกดิจิทัลในทุกมิติ. Retrieved from LINE: https://linecorp.com/th/pr/news/th/2023/4621
Ajzen, I. (1985). From intention to actions: A theory of planned behavior. From cognition to behavior. Berlin: Springer-Verlag.
Davis, F. D., Bagozzi, R. P. & Warshaw, P. R. (1989). User Acceptance of Computer Technology:A Comparison of Two Theoretical Models. Management Science, (pp.982-1003).
Rogers, E. M. (2003). Diffusion of innovations. New York Press. Steven J. McGriff. (2008). WikiEducator “Free e-learning content. Retrieved from ADDIE Model Diagram: https://wikieducator.org/File:ADDIE_model_diagram_by_McGriff.gif
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory statistics, (Second Edition). New York: Harper & Row.
Zhenlong, P., Zhonghui, O.Y., Youlan, H. (2012). The Application and Development of Software Testing in Cloud Computing Environment. Computer Science & Service System (CSSS), 2012 International Conference on (pp. 450, 454). 11-13 Aug. 2012.