ความต้องการและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบบูรณาการอัตลักษณ์ท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบบูรณาการอัตลักษณ์ท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาไทย ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลพื้นฐานโดยทบทวนวรรณกรรม สอบถามความต้องการของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคีภาคใต้ 5 สถาบัน ที่ฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 60 คน สำรวจความคิดเห็นของครูสอนภาษาไทย จำนวน 39 คน และสัมภาษณ์ครูสอนภาษาไทยระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไป จำนวน 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบสำรวจ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการของนักศึกษาอยู่ในระดับมากทุกด้าน ( = 4.43, SD = 0.62) 2) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรมี 6 แนวทาง ได้แก่ (1) การพัฒนาจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นและอภิปัญญา (2) การพัฒนามโนทัศน์การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบบูรณาการเชิงสร้างสรรค์และวงจรปฏิบัติงานแบบ PDCA (3) การฝึกอบรมฐานสมรรถนะเชื่อมโยงแนวคิดสู่การปฏิบัติ (4) การพัฒนาสมรรถนะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (5) การใช้เทคโนโลยี สนับสนุนสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบผสมสานและการเรียนรู้ส่วนบุคคล และ (6) การสะท้อนผลการพัฒนาร่วมกันในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กาญจนา คุณารักษ์. (2562). พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
ชนิตา รักษ์พลเมือง, สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, รังสรรค์ มณีเล็ก, เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก, และสุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต. ครุศาสตร์, 45(3), 11-33.
บังอร เสรีรัตน์. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฐานสมรรถนะแบบผสานรายวิชาสำหรับนักศึกษา คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. ครุศาสตร์สาร, 15(2), 143-158.
มารุต พัฒผล. (2567). การวิจัยและพัฒนาเพื่อการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: ศูนย์นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
รณธิชัย สวัสดิ์ และรัตนะ บัวสนธ์. (2565). การจัดการศึกษาฐานสมรรถนะ. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(1), 187-201.
วรรณดี สุทธินรากร, ภูวเรศ อับดุลสตา และสมเกียรติ สุทธินรากร. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะและ การจัดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
ศุภรดา อันชุนดา และจักรกฤษณ์ จันทะคุณ. (2566). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดคอนเน็คติวิสซึม เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างนวัตกรรมอิงสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาครูภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏ. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์. (2564). ท้องถิ่นอินเตอร์. กรุงเทพฯ: ศิริชัย การพิมพ์. สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2556). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยเป็นสื่อ: กรณีการจัดการศึกษาแบบทวิภาษา (ภาษาไทย-มลายูถิ่น) ในโรงเรียนเขตพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ระยะที่ 3). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก: ถอดบทเรียนจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. สมุทรปราการ: เอส บี เค การพิมพ์ จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). การประเมินระบบการผลิตครูในประเทศไทย. นนทบุรี: เซ็นจูรี่ จำกัด.
Casey, K., & Sturgis, C. (2018). Levers and Logic Models: A Framework to Guide Research and Design of High Quality Competency-Based Education Systems. Vienna, VA: iNACOL. Content in this report is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International license.
Drake, S.M. & Reid, J.L. (2020). 21st Century Competencies in Light of the History of Integrated Curriculum. Front. Educ, 5:122. doi: 10.3389/feduc.2020.00122
Flórez González, A. M. (2018). Strengthening local identity by writing chronicles in the EFL classroom. Colombian Applied Linguistics Journal, 20(2), 195-208.
Glatthorn, A., Boschee, F., Whitehead, B.M., & Boschee, B.F. (2019). Curriculum Leadership Strategies for Development and Implementation. (5th ed.). Los Angeles: SAGE.
Hammond, L. D., Oakes, J., Wojcikiewicz, S.K., Hyler, M.E., Guha, R.,Podolsky, A., Kini, T., Cook-Harvey, C.M., Jackson Mercer, C.N. & Harrell, A. (2019). Preparing Teachers for Deeper Learning. Cambridge: Harvard Education Press.
Hernández, L. E., Darling-Hammond, L., Adams, J., & Bradley, K. (with Duncan Grand, D., Roc, M., & Ross, P.). (2019). Deeper learning networks: Taking student-centered learning and equity to scale. Palo Alto, CA: Learning Policy Institute.
Mahajan, A., & Chowdhary, R. (2019). Methodical review of literature on competencies. Prestige International Journal of Management and Research, 12(1/2), 13-22.
Mintrop, R., Zumpe, E., Jackson, K., Nucci, D. & Norman, J. (2022). Designing for Deeper Learning as an Equity Approach: Schools and School Districts Serving Communities Disadvantaged by the Educational System Benefiting from Deeper Learning. Stanford, CA: The Carnegie Foundation for the Advancement of Teaching.
Rao, N. J. (2020). Outcome-based Education: An Outline. Higher Education for the Future, 7(1), 5-21. https://doi.org/10.1177/2347631119886418
Vaganova, O.I. (2019). Organization of practical classes in a higher educational institution using modern educational technologies. Amazonia Investiga, 8(23), 81-86.