การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบโฟนิกส์ร่วมกับการใช้สื่อประสม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านออกเสียงสระผสมในภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบโฟนิกส์ร่วมกับการใช้สื่อประสม ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ 2) ศึกษาประสิทธิผลด้านการอ่านออกเสียงสระผสมในภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบ โฟนิกส์ร่วมกับการใช้สื่อประสม กับเกณฑ์ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 50 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 30 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน และ 2) แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
ความสามารถด้านการอ่านออกเสียงสระผสมในภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการสอนแบบโฟนิกส์ร่วมกับการใช้สื่อประสมของนักเรียน หลังการพัฒนากับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 70 พบว่า ผลการทดสอบหลังเรียนของนักเรียนรายบุคคลจากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ผลคะแนนต่ำสุดร้อยละ 70 ผลคะแนนสูงสุดร้อยละ 100 คะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 90.67 เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมินผ่านที่ผู้วิจัยกำหนดไว้พบว่านักเรียนทั้ง 30 คน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคนคิดเป็นร้อยละ 100 และค่าดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนเมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมินผ่านที่ผู้วิจัย กำหนดไว้คือร้อยละ 50 พบว่าผลค่าดัชนีประสิทธิผลต่ำสุดร้อยละ 50 ผลค่าดัชนีประสิทธิผลสูงสุดร้อยละ 100 ผลค่าดัชนีประสิทธิผลรวมร้อยละ 83.98 เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมินพบว่านักเรียนทั้ง 30 คน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคนคิดเป็นร้อยละ 100 แสดงให้เห็นว่าหลังการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านออกเสียงสระผสมในภาษาอังกฤษ มีประสิทธิผลด้านการอ่านร้อยละ 50 ขึ้นไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. เข้าถึงได้จาก shorturl.asia/XqlRp.1 สิงหาคม 2563.
_________. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
จิราภรณ์ เสืออินทร์. (2559). การพัฒนาทักษะความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษโดยการสอนแบบโฟนิกส์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบุญคุ้มราษฎร์บำรุง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรุกิจบัณฑิตย์.
ณัชพร จารุอินทร์. (2557). การพัฒนาความสามารถการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ สื่อประสมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลย อลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(2), 12.
ณัฐธิดา กลางประชา. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความ เข้าใจของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การสอนอ่านแบบ Directed Reading -Thinking Activity (DR-TA) วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(1), 54.
ณัฐพล สุริยมณฑล, นิธิดา อดิภัทรนันท์และนันทิยา แสงสิน. (2561). การสอนแบบโฟนิกส์เพื่อส่งเสริมการออก เสียง และความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสาร มหาวิทยาลัยนครพนม, 8(2), 117-124.
เบญวลี มนตรี. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านคําศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 โดยใช้วิธีสอนอ่านเป็นคําร่วมกับเทคนิค Picture Me Reading. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 17(78), 139.
เทียนมณี บุญจุน. (2548). สัทศาสตร์ ระบบเสียงในภาษาอังกฤษและภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (2544). แนวการออกเสียงภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิมภรณ์ พวงชื่น และวิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2563). การพัฒนาทักษะการอานออกเสียงและ สะกดคําภาษาอังกฤษ ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิค สําหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปที่ 1. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(1), 21.
มลิวัล แสงชรี. (2561). การใช้การสอนแบบโฟนิกส์ในการพัฒนาทักษะการอ่านและการ เขียนภาษาอังกฤษใน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง “Let’s Learn English” สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 13(2), 107.
โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา. (2565). รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา.ปัตตานี : โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา.
สุชาดา อินมี. (2556). การพัฒนาการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยสื่อโฟนิกส์โปสเตอร์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษา ปีที่ 3. วารสารวิชาการ Veridian Journal, 6(3), 141-145.
สุธาสินี น้ำใจดี. (2561). กระบวนการพัฒนาทักษะการฟังการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 8(2), 101.
อรอุษา แซ่เตียว. (2556). การใช้โฟนิกส์ในการส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
อัจฉรา ตาเล๊ะเจ๊ะโซะ. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเขียนเรื่องตามจินตนาการวิชาภาษาไทยโดยใช้สื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Allen, E., & Vallette, D. (1977). Classroom Techniques : Foreign Language an English as a Second Language. New York: Harrcount Brace Javarovich.
Amarin baby and kids. (2017). อ่านแบบโฟนิกส์ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับเด็กยุคนี้!. Available shorturl.asia/iDOqS May 5th, 2020
Derwing, T. M., & Rossiter, M. J. (2002). ESL Learners’ Perceptions of Their Pronunciation Needs and Strategies. Available from shorturl.asia/cqBQV October 8th, 2020.
Edith Cowan University. (n.d.). From Sounds to Spelling: A teaching. In Fogarty Learning Centre. Sequence. Available from shorturl.asia/dEPo5 December 20th , 2019.
Genesee. (2008). Myths About Early Childhood Bilingualism. In Blackwell Handbook of Language Development. Retrieved from shorturl.asia/d6LH9 October 8 th , 2020.
Salas, A. (2018). Improving pronunciation through Jolly Phonics Programme in Early years (Tesis de Maestria en Educacion con Mencion en Ensenanza de Ingles como Lengua Extranjera). Universidad de Piura. Facultad de Ciencias de la Educacion. Piura, Peru.