ผลการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษามลายูโดยการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติตามแนวคิดของลาเดาซ์สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษามลายู มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษามลายูโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติตามลาเดาซ์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนรายวิชา สนทนาภาษามลายู 1 และศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบกิจกรรมบทบาทสมมติตามลาเดาซ์ กลุ่มเป้าหมายในการทำวิจัยชิ้นนี้คือนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษามลายู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 413-221 Malay Conversation I ในปีการศึกษาที่ 1/2564 กลุ่มที่ 1 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการสื่อสารภาษามลายูโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติตามลาเดาซ์ แบบทดสอบวัดความสามารถทักษะในการสื่อสารภาษามลายู และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบกิจกรรมบทบาทสมมติของลาเดาซ์ สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่าแผนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษามลายูโดยใช้รูปแบบกิจกรรมบทบาทสมมติตามลาเดาซ์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.69/88.61 ความสามารถในการสื่อสารภาษามลายูหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้รูปแบบกิจกรรมบทบาทสมมติตามลาเดาซ์อยู่ในระดับมาก ( =3.89) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษา การส่งเสริมกิจกรรมบทบาทสมมติในการสื่อสารอย่างถูกต้อง จะช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษามลายูขั้นสูงขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2537). การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน.เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสาร การศึกษา หน่วยที่ 1-5. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ซามียะห์ บาเละ, อาลียะห์ มะแซ และไซนีย์ ตำภู. (2565). “พัฒนาบทเรียนรายวิชาภาษามลายูเพื่อการสื่อสารในบทเรียนออนไลน์ระบบเปิด (Thai MOOC) สำหรับมหาชน”, วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิก สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 15-28.
ซำสีนาร์ ยาพา, อาซียะ วันแอเลาะ, มะนาวี มามะ, นุรฮูดา สะดามะ และอัฟฟาน สามะ. (2560). “ทัศนคติ ต่อความสำคัญของภาษามลายูในประชาคมอาเซียนและแนวทางการพัฒนาการสอนภาษามลายูของ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา”, วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12(1), 137-150.
ทิศนา แขมมณี. (2552). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 15). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เผชิญ กิจระการ. (2546). ดัชนีประสิทธิผล. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มูหำหมัด สาแลบิง และกัลยาณี เจริญช่าง นุชมี. (2560). “ผลการเรียนรู้ด้วยพอดแคสต์เพื่อส่งเสริมทักษะการ สื่อสารภาษามลายูสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี”, วารสารอัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 13(7),37-44.
สันติ บุญจันทร์ประเสริฐ, สริตา บัวเขียว และยุพิน ยีนยง. (2561). “การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษในชั้นเรียนโดยใช้บทบาทสมมติที่เน้นกิจกรรมการฝึกปฏิบัติการสอนสำหรับนักศึกษาครูภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรี วิทยาลัยครูหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว”, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 8(2), 101-112.
อับโดรอสัก มะลาเฮง. (2555). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษามลายูยาวี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ชุดฝึก อ่าน. การค้นคว้าอิสระครุศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนอิสลาม ศึกษา. ยะลา: บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
Bialystok, E. (1990). Communication Strategies: A psychological analysis of second language use. Oxford, UK: Basil Blackwell.
Byrne, D. (1976). Teaching oral English. London: Longman Group UK Ltd.
Ladousse G. P. (1987). Role-play. Oxford: Oxford University Press.
Livingstone C. (1983). Role play in language learning. New York: The Printed House.
Richards, J. C., & Schmidt, R. W. (1986). Language and communication. New York: LongmanIncorporation.
Rivers, W. M. (1986). Teaching foreign-language skills. London: University of Chicago Press.
Skinner, B.F. (1971). Beyond freedom and dignity. Toronto: A Bantam Vintage Book.