การพัฒนาแอปพลิเคชันเรื่อง การจัดเรียงแบบฟอร์มเวชระเบียนผู้ป่วยใน

Main Article Content

อัญชลี อ่ำประสิทธิ์
ญาณิศา วงษ์สมบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหา การเรียนการสอนเรื่องการจัดเรียงแบบฟอร์มเวชระเบียนผู้ป่วยในรูปแบบเดิม และความต้องการพัฒนาแอปพลิเคชันเรื่องการจัดเรียงแบบฟอร์ม เวชระเบียนผู้ป่วยใน 2) พัฒนาแอปพลิเคชัน เรื่องการจัดเรียงแบบฟอร์มเวชระเบียนผู้ป่วยใน 3) เปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการฝึกจัดเรียงแบบฟอร์มเวชระเบียนผู้ป่วยในโดยใช้กระดาษ 4) เปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการฝึกจัดเรียงแบบฟอร์มเวชระเบียนผู้ป่วยในโดยใช้แอปพลิเคชัน 5) เปรียบเทียบความรู้ระหว่างหลังการฝึกจัดเรียงแบบฟอร์มเวชระเบียนผู้ป่วยในโดยใช้กระดาษ กับ หลังการใช้แอปพลิเคชัน และ 6) ศึกษาระดับ ความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาหลักสูตร ปวส.เวชระเบียน ชั้นปีที่ 1 จำนวน 90 คน โดยทำการสนทนากลุ่มตัวอย่างที่ 1 เพื่อศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหาและความต้องการแอปพลิเคชัน ให้กลุ่มกลุ่มตัวอย่างที่ 2 ทำแบบทดสอบก่อนและหลังฝึกจัดเรียงแบบฟอร์มเวชระเบียนผู้ป่วยในแบบกระดาษ ให้กลุ่มตัวอย่างที่ 3 ทำแบบทดสอบก่อนและหลังฝึกจัดเรียงแบบฟอร์มเวชระเบียนผู้ป่วยในโดยใช้แอปพลิเคชันพร้อมทั้งทำแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แอปพลิเคชัน 


ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความต้องการให้จัดทำแอปพลิเคชันที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดเรียงแบบฟอร์มเวชระเบียนผู้ป่วยใน โดยออกแบบมาในรูปแบบของเกม ผลการพัฒนาแอปพลิเคชันเรื่องการจัดเรียงแบบฟอร์มเวชระเบียนผู้ป่วยใน พบว่า แอปพลิเคชันประกอบไปด้วย ส่วนที่ให้ลงชื่อเข้าใช้ เมนูภายใน แอปพลิเคชัน เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการจัดเรียงเวชระเบียนผู้ป่วยใน 7 ใบหลัก 5 ใบเสริม ส่วนของการเล่นเกมจับคู่ ส่วนแสดงผลคะแนน และส่วน Logout ผลการหาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันเรื่องการจัดเรียงแบบฟอร์ม เวชระเบียนผู้ป่วยใน เท่ากับ 80.19/80.89 ความรู้ก่อนและหลังการฝึกจัดเรียงแบบฟอร์มเวชระเบียนผู้ป่วยในโดยใช้กระดาษ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความรู้ก่อนและหลังการฝึกจัดเรียงแบบฟอร์ม เวชระเบียนผู้ป่วยในโดยใช้แอปพลิเคชัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความรู้ระหว่างหลังการฝึกจัดเรียงแบบฟอร์มเวชระเบียนผู้ป่วยในโดยใช้กระดาษ กับ หลังการใช้แอปพลิเคชัน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระดับความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันของนักศึกษา ปวส.เวชระเบียน ชั้นปีที่ 1 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
อ่ำประสิทธิ์ อ., & วงษ์สมบัติ ญ. . (2023). การพัฒนาแอปพลิเคชันเรื่อง การจัดเรียงแบบฟอร์มเวชระเบียนผู้ป่วยใน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 23(2), 82–97. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v23i2.259138
บท
บทความวิจัย

References

กุลกนก จั้นวันดี. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักการออกแบบของ ADDIE MODEL ร่วมกับการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ เรื่องหลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

เกตุแก้ว ยิ่งยืนยง. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการเรียนรู้เรื่องเซลล์และโครงสร้างของเซลล์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี).

คณะกรรมการจัดการความรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2562). คู่มือการจัดการความรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในแนวทางที่หลากหลาย. สืบค้น 12 พฤษภาคม 2565, จาก http://www.edu.ru.ac.th/images/edu_KM/km-poster-2562-03.pdf

จณิสตา ใจห้าว, ไพฑูรย์ ศรีฟ้า และจงกล แก่นเพิ่ม. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันภาษาอาเซียนเบื้องต้น เรื่องการทักทาย บนคอมพิวเตอร์พกพา ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 8(2), 154-162. http://journal.fte.kmutnb.ac.th/download/v8n2/journalFTE-Fulltext-2017-8-2-18.pdf

จินตวีร์ คล้ายสังข์ และประกอบ กรณีกิจ. (2559). การออกแบบเว็บเพื่อการเรียนการสอน แนวทางประยุกต์ใช้สำหรับการเรียนแบบผสมผสานอีเลิร์นนิงและออนไลน์เลิร์นนิง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐวราพร เปลี่ยนปราณ และสุทัศน์ นาจั่น. (2558). การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมประกอบการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University. 8(2), 1672-1684. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/40427

น้ำทิพย์ อิ่มวัฒนกุล. (2559). ประสิทธิผลของการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินด้วย แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนเปรียบเทียบกับแนวทางในกระดาษ, วารสาร Royal Thai Air Force Medical Gazette. 65(2), 1-9. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/rtafmg/article/download/216093/150157/689876

ประพันธ์ เกียรติเผ่า (2559). การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รายวิชาฟุตบอลเพื่อสุขภาพ (รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน).

ปรัชกร พรหมมา และไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันเกมสามมิติประเภทสวมบทบาทเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษในระดับต่ำ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 8(2). 221-229. http://journal.fte.kmutnb.ac.th/download/v8n2/journalFTE-Fulltext-2017-8-2-25.pdf

ปิยนันท์ ปานนิ่ม. (2559). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เรื่องพยัญชนะและสระไทย สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 10(3). 246-254. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/64610/58868

พีรดา อะทาโส. (2564). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

วนิสา หะยีเซะ, นุจรี ไชยมงคล, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ และมยุรี ยีปาโล๊ะ. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันบน แอนดรอยด์ผลของการให้ความรู้ผ่านแอปพลิเคชันในการดูแลทารกก่อนกำหนดหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตามวิถีมุสลิม. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 13(1). 39-55. https://nurse.buu.ac.th/rsh/file/journal/0000000787.pdf

ศิริลักษณ์ ธีระภูธร, ดิเรก ธีระภูธร, จุฑามาศ วงษ์ศรีเผือก และจิรฐา รัชนกูล. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันบทเรียนเรื่องการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 19(2). 81-89. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/216116

อนุชา จันทร์เต็ม, สรัญญา เชื้อทอง และปกรณ์ สุปินานนท์. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันเรื่องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University. 11(1). 1371-1385. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/119424