การพัฒนาแอปพลิเคชันบทเรียนเรื่อง การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

Main Article Content

ศิริลักษณ์ ธีระภูธร
ดิเรก ธีระภูธร
จุฑามาศ วงษ์ศรีเผือก
จิรฐา รัชนกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)  สร้างและตรวจสอบคุณภาพของแอปพลิเคชันบทเรียน เรื่องการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการเรียน โดยใช้แอปพลิเคชันบทเรียน 3)  ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตสาขาเทคนิคการแพทย์ ชั้นปีที่ 3 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 57 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test  แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า  การตรวจสอบคุณภาพของแอปพลิเคชันบทเรียน อยู่ในระดับดี ประกอบด้วยด้านเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65 และด้านสื่อ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า คะแนนหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  และความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ โดยใช้แอปพลิเคชันบทเรียน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.77 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศิริลักษณ์ ธีระภูธร, ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 65000

Assistant Professor Sirilak Teeraputon, Ph.D. Department of Medical Technology, Faculty of Allied Health Science, Naresuan University, 65000

ดิเรก ธีระภูธร, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 65000

 

จุฑามาศ วงษ์ศรีเผือก, สาขาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

นิสิต สาขาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 6500

จิรฐา รัชนกูล, สาขาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สาขาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

References

จริยา หาญวจนวงศ์. (2541). ไวรัสวิทยา เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บรรฑูรณ์ สิงห์ดี และศุภลักษณ์ สัตย์เพริศพราย. (2558) การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเสริมรายวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2560. จาก http://gs.nsru.ac.th/
พิไลพันธ์ พุธวัฒนะ และคณะ. (2559). ไวรัสวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สมาคมไวรัสวิทยา.
ภาวพันธ์ ภัทรโกศล. (2550). หลักไวรัสวิทยาทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: บริษัทโนว์เลจ เพลส จำกัด.
ภาสกร เรืองรอง. (2556). การพัฒนาบทเรียนบน Tablet PC. กรุงเทพฯ: พรทิชา.
ศิริลักษณ์ ธีระภูธร. (2550). คู่มือการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การเก็บ รักษา และนำส่งสิ่งส่งตรวจ. พิษณุโลก: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักแผนและประกันคุณภาพการศึกษา. (2560). การให้การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2560, จาก http://www.ptu.ac.th/quality/data/levyp1.pdf
อรรณพ บัวแก้ว. (2557). การสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนสําหรับการเรียนแบบ e-Learning วิชาการออกแบบตกแต่งภายใน เรื่อง หลักการเขียนทัศนียภาพเบื้องต้น หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2560. จาก http://dcms/thailis.or.th/dcm
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2557). วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น.
McGriff, Steven J. (2000). Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Model. Instructional Design Models. 226 (14): 1-2.