ผลของการออกกำลังกายด้วยความหนักระดับปานกลางที่มีต่อไขมันช่องท้อง ของบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

Main Article Content

ธีรพันธ์ สังข์แก้ว
ชวพงษ์ เมธีธรรมวัฒน์
สรรปกรณ์ ศุภการนรเศรษฐ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยความหนักระดับปานกลางที่มีต่อไขมันช่องท้องของบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เพศหญิง อายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 10 คน สุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยกลุ่มตัวอย่างต้องออกกำลังกายตามที่ผู้วิจัยแนะนำที่ระดับความหนักร้อยละ 50-60 ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ควบคุมระดับความหนักในการออกกำลังกายโดยติด Wireless Chest Strap บริเวณทรวงอกใต้ราวนมและใส่นาฬิกาสำหรับอ่านค่าอัตราการเต้นของหัวใจ (Polar M400) ที่ข้อมือของผู้เข้าร่วมการทดลอง กิจกรรมการออกกำลังกายใช้ระยะเวลา 30-45 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูลทางกายภาพของกลุ่มตัวอย่าง และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของไขมันช่องท้องของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ ด้วยการทดสอบ Wilcoxon Signed Ranks Test
        ผลการวิจัยพบว่า       
        1.) ข้อมูลทางกายภาพของบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 10 คน พบว่ามีค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัว 57.83 ± 9.86 กิโลกรัม ค่าเฉลี่ยของส่วนสูง 159.75 ± 6.93 เซนติเมตร และมีค่าเฉลี่ยของดัชนีมวลกาย 22.55 ± 2.72 กิโลกรัมต่อเมตร2
        2.) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยไขมันช่องท้องของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าค่าไขมันในช่องท้องของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        สรุปผลการวิจัย การออกกำลังกายด้วยความหนักระดับปานกลางมีผลต่อการลดไขมันช่องท้องของบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ รวมทั้งค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index, BMI) และค่าการเผาผลาญพลังงานพื้นฐาน (Basal Metabolic Rate, BMR) ของบุคลากรมีแนวโน้มดีขึ้นด้วย จึงควรสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เทียนทิพย์ เดียวกี่. (2562). 2:1:1 รหัสพิชิตโรค. สืบค้นจากhttps://www.thaihealth.or.th/Content/

นฤมล ลีลายุวัฒน์. (2553). สรีรวิทยาการออกกำลังกาย (Physiology of exercise). ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายบริหารกลางและทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยทักษิณ. สถิติบุคลากร. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563 จาก http://capr.tsu.ac.th/

วิชัย เอกพลากร. (2557). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ.2557 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. นนทบุรี.

สนธยา สีละมาด. (2555). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

American College of Sports Medicine. (2006). ACSM's advanced exercise physiology (Vol. 143). Lippincott Williams & Wilkins.

American College of Sports Medicine. (2009). The heart rate debate. Retrieved from https://www.acsm.org/access-publicinformation/articles/2012/01/13/the-heart-rate-debate

Ha, C. H., & So, W. Y. (2012). Effects of combined exercise training on body composition and metabolic syndrome factors. Iranian journal of public health, 41(8), 20.

Heydari, M., Freund, J., & Boutcher, S. H. (2012). The effect of high-intensity intermittent exercise on body composition of overweight young males. Journal of obesity, 2012

Miller, M. B., Pearcey, G. E., Cahill, F., McCarthy, H., Stratton, S. B., Noftall, J. C., & Button, D. C. (2014). The effect of a short-term high-intensity circuit training program on work capacity, body composition, and blood profiles in sedentary obese men: a pilot study. BioMed research international, 2014.

Ossanloo, P., Najar, L., & Zafari, A. (2012). The effects of combined training (aerobic dance, step exercise and resistance training) on body fat percents and lipid profiles in sedentary females of ALZAHRA University. European Journal of Experimental Biology, 2(5), 1598-1602.

Paoli A, Pacelli QF, Moro T, Marcolin G, Neri M, Battaglia G, et.al. (2013). Effects of high-intensity circuit training, low-intensity circuit training and endurance training on blood pressure and lipoproteins in middle-aged overweight men. Lipids Health Dis. 2013; 12: 131. doi: 10.1186/1476-511X-12-131.

Perry, C. G., Heigenhauser, G. J., Bonen, A., & Spriet, L. L. (2008). High-intensity aerobic interval training increases fat and carbohydrate metabolic capacities in human skeletal muscle. Applied Physiology, Nutrition, and Metabolism, 33(6), 1112-1123.

Schmidt, D., Anderson, K., Graff, M., & Strutz, V. (2015). The effect of high-intensity circuit training on physical fitness. The Journal of sports medicine and physical fitness, 56(5), 534-540.

Tjonna, A. E., Stolen, T. O., Bye, A., Volden, M., Slørdahl, S. A., Odegård, R., Skogvoll, E., & Wisløff, U. (2009). Aerobic interval training reduces cardiovascular risk factors more than a multitreatment approach in overweight adolescents. Clinical Science, 116(4), 317-326.